วันจันทร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2555

ห้องสวดมนต์ไหว้พระ



บททำวัตรเช้า-เย็น[1]
คำบูชาพระรัตนตรัย
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา,
พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระอรหันต์, ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง, ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง,
พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ,
       ข้าพเจ้าอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน (กราบ)
สฺวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม,
       พระธรรม เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ดีแล้ว,
ธัมมัง นะมัสสามิ,
       ข้าพเจ้านมัสการพระธรรม (กราบ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ปฏิบัติดีแล้ว,
สังฆัง นะมามิ,
ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์ (กราบ)
 ......................................................
ปุพพะภาคะนะมะการ
หันทะ มะยัง พุทธัสสะ ภะคะวะโต ปุพพะภาคะนะมะการัง กะโรมะ เส
(เชิญเถิดเราทั้งหลาย ทำความนอบน้อมเบื้องต้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้ากันเถิด)
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต, ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
อะระหะโต,               ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส
สัมมาสัมพุทธัสสะ,     ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง (๓ ครั้ง)
พุทธาภิถุติง
หันทะ มะยัง พุทธาภิถุติง กะโรมะ เส.
โย โส ตะถาคะโต,        พระตถาคตเจ้านั้น พระองค์ใด,
อะระหัง,                 เป็นผู้ไกลจากกิเลส,[2]
สัมมาสัมพุทโธ,         เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง,[3]
วิชชาจะระณะสัมปันโน,        เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชาและจรณะ,
สุคะโต,                          เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี,
โลกะวิทู,                         เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง,
อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ,
       เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า
สัตถา เทวะมะนุสสานัง,        เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย,
พุทโธ,                            เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม.
ภะคะวา,                         เป็นผู้มีความจำเริญจำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์,
โย อิมัง โลกัง สะเทวะกัง สะมาระกัง สะพฺรัหมมะกัง, สัสสะมะณะ
พฺรัหมะณิง ปะชัง สะเทวะมะนุสสัง สะยัง อะภิญญา สัจฉิกัตฺวา ปะเวเทสิ,
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด, ได้ทรงทำความดับทุกข์ให้แจ้งด้วยพระปัญญาอันยิ่งเองแล้ว, ทรงสอนโลกนี้พร้อมทั้งเทวดา มาร พรหม, และหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณะพราหมณ์, พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม,
โย ธัมมัง เทเสสิ,        พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด ทรงแสดงธรรมแล้ว,
อาทิกัลฺยาณัง,           ไพเราะในเบื้องต้น,
มัชเฌกัลฺยาณัง,         ไพเราะในท่ามกลาง,
ปะริโยสานะกัลฺยาณัง,          ไพเราะในที่สุด,
สาตถัง สะพฺยัญชะนัง เกวะละปะริปุณณัง ปะริสุทธัง พฺรัหมะจะริยัง      ปะกาเสสิ,
ทรงประกาศพรหมจรรย์ คือแบบแห่งการปฏิบัติอันประเสริฐบริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง, พร้อมทั้งอรรถะ พร้อมทั้งพยัญชนะ,
ตะมะหัง ภะคะวันตัง อะภิปูชะยามิ,
       ข้าพเจ้าบูชาอย่างยิ่ง เฉพาะพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น,
ตะมะหัง ภะคะวันตัง สิระสา นะมามิ,
       ข้าพเจ้านอบน้อม พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ด้วยเศียรเกล้า,   (กราบ)
.....................................................
ธัมมาภิถุติง
หันทะ มะยัง ธัมมาภิถุติง กะโรมะ เส.
โย โส สฺวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, 
พระธรรมนั้นใด เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว
สันทิฏฐิโก,        เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติพึงเห็นได้ด้วยตนเอง,
อะกาลิโก,          เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล,
เอหิปัสสิโก,        เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกับผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด,[4]
โอปะนะยิโก,       เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว,[5]
ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ,         เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน,[6]
ตะมะหัง ธัมมัง อะภิปูชะยามิ,        ข้าพเจ้าบูชาอย่างยิ่ง เฉพาะพระธรรมนั้น,
ตะมะหัง ธัมมัง สิระสา, นะมามิ     ข้าพเจ้านอบน้อมพระธรรมนั้น ด้วยเศียรเกล้า,
(กราบ)
 ........................................................
สังฆาภิถุติง
หันทะ มะยัง สังฆาภิถุติง กะโรมะ เส
โย โส สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
       สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นหมู่ใด ปฏิบัติดีแล้ว
อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
       สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติตรงแล้ว,
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
       สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติสมควรแล้ว
ยะทิทัง,
       ได้แก่บุคคลเหล่านี้คือ
จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา,
       คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่, นับเรียงตัวบุรุษได้ ๘ บุรุษ,[7]
เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
       นั่นแหละสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า,
อาหุเนยโย,               เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา
ปาหุเนยโย,               เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ
ทักขิเณยโย,               เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน
อัญชะลิกะระณีโย,         เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี
อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสะ ,       เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า,[8]
ตะมะหัง สังฆัง อะภิปูชะยามิ, ข้าพเจ้าบูชาอย่างยิ่ง เฉพาะพระสงฆ์หมู่นั้น
ตะมะหัง สังฆัง สิระสา นะมามิ
       ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์หมู่นั้น ด้วยเศียรเกล้า  (กราบ)


[1] พุทธศาสนาเป็นอกาลิโก คือไม่จำกัดเวลาว่าต้องทำ(ความดี)เมื่อไร เพราะทำตอนไหนก็ได้ตอนนั้น จึงโยงไปถึงบทสวดเช่นกัน ไม่ได้จำกัดว่าต้องเป็นบทไหน เพียงแต่ให้สงบใจได้และซึมซับความรู้จากบทนั้นไปใช้ในชีวิตจริง ดังนั้นจีงอยากแนะนำให้สวดบทที่มีสาระจริงๆเช่นบทสังเวคปริกิตตนะ(อิธะ ตถาคโต โลเก อุปปันโนฯ)ภัทเทกรัตตะคาถา โอวาทปาติโมกข์เป็นต้น
[2] ไกลจากกิเลสคือไม่มีกิเลสเป็นตัวผลักดันให้ต้องทำชั่วอีก คือไม่มีความอยากเด่น อยากดังหรือแสวงหาผลประโยชน์เพื่อตน วิเคราะห์ตามศัพท์บาลีได้คือ อ แปลว่าไม่มี +รห (หรือที่คุ้นเคยกันว่า รโหฐาน) หมายถึงที่ลับ รวมความว่าผู้ไม่มีที่ลับให้ทำความชั่ว ปกติมนุษย์จะทำดีต่อเมื่อมีคนเห็นและแอบทำชั่วเมื่อมั่นใจว่าไม่มีใครทราบ แต่พระอรหันต์ไม่ว่าอยู่ที่ไหนก็ไม่ทำชั่วเพราะทำลายกิเลสได้หมดสิ้นแล้ว ซึ่งวิเคราะห์อีกศัพท์หนึ่งว่า อริ แปลว่า ข้าศึก, ศรัตรู + หนฺต แปลว่า ฆ่า หมายถึงผู้ฆ่าศรัตรูคือกิเลสได้สิ้นซาก
[3] ตรงนี้เป็นการสะท้อนความต่างกันระหว่างศาสนาพุทธกับศาสนาที่นับถือพระเจ้าทั้งหลาย คือศาสนาพุทธบอกว่าการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าซึ่งเป็นคนธรรมดาสำเร็จได้จากการอาศัยความพยายามและความสามารถของตนเองทั้งสิ้น ไม่ได้โดยการอ้อนวอนหรืออำนาจดลบันดาลจากพระเจ้าหรือใครที่ไหน ดังนั้นศัพท์นี้จึงสอนให้ชาวพุทธยึดมั่นในศักยภาพความเป็นมนุษย์และเร่งพัฒนาตนเองจนสามารถก้าวถึงสิ่งสูงสุดได้ด้วยความสามารถของตนเองโดยมีพระพุทธเจ้าทำให้ดูเป็นแบบอย่าง
[4] เป็นการสะท้อนหลักการของพุทธศาสนาอย่างหนึ่งศึ่งต่างจากศาสนาอื่นคือ มิใช่ให้มาเชื่อหรือศรัทธา แต่ให้มาพิสูจน์ด้วยการเรียนและปฏิบัติ
[5] หมายความว่าพระธรรมแม้จะเป็นสิ่งที่เที่ยงตรงหรือดีเลิศ แต่หากไม่น้อมเข้ามาใส่ตัว คือรับมาปฏิบัติ ธรรมะก็ไร้ความหมาย
[6] รู้ได้เฉพาะตนในที่นี้มิใช่ว่า ธรรมะเป็นสิ่งที่อธิบายให้ผู้อื่นฟังไม่ได้เลยดังที่มักเข้าใจกัน และชอบพูดกันเป็นประโยคสั้นๆว่า “เป็นปัจจัตตัง” เพื่อหลีกเลี่ยงการอธิบาย การทำเช่นนี้ให้ทราบว่าเป็นอุบายของผู้ไม่รู้จริงแล้วนำมาอ้างฯ ส่วนธรรมะของพระพุทธเจ้ามิใช่ของลี้ลับ ดังข้อที่ว่าสันทิฏฐิโก ทุกคนมีสิทธิ์เข้าใจ/รับทราบได้ ดังนั้นปัจจัตตังในที่นี้หมายเอาเฉพาะแง่ของผลที่ได้จากการปฏิบัติเท่านั้น คือความหลุดพ้นจะต้องทำและเห็นผลได้ด้วยตนเอง (ไม่ได้หมายถึงไม่สามารถอธิบายเรื่องความหลุดพ้นให้ใครฟังได้) แต่ความสุขที่ได้เป็นของส่วนตัว เปรียบเหมือนการกินอาหาร อิ่มด้วยตนเอง แต่ผู้กินยังสามารถเล่าประสบการณ์/ประเภทอาหารและรสชาติให้ผู้อื่นเข้าใจแจ่มแจ้งได้ฯ มิใช่พูดอะไรไม่ได้เลย ถ้าเช่นนั้นการตรัสรู้ธรรมของพระพุทธเจ้าก็ไม่มีความหมายหากโยนทุกอย่างให้เป็นเรื่องปัจจัตตังฯ
[7] หมายเอาผลที่เกิดจากการปฏิบัติของบุคคล(ความจริงรวมเอาทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์) จัดเป็น ๔ คู่ได้แก่ โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล สกทาคามิมรรค สกทาคามิผล อนาคามิมรรค อนาคามิผล อรหัตมรรคและอรหัตผล โดยอริยบุคคลทั้งสี่คู่นี้แบ่งตามลำดับของการทำลายกิเลสได้จากน้อยไปหามาก
[8] คำว่า เนื้อนาบุญนี้ส่วนใหญ่เข้าใจกันว่า พระสงฆ์เป็นผู้ที่เหมาะกับการทำบุญรับทานมากที่สุดเพราะเปรียบเทียบกับผืนนา ซึ่งยิ่งใหญ่สามารถรับบุญได้มากและบ้างก็อธิบายเป็นนาที่มีดินอุดมสมบูรณ์ หว่านพืช(คือทำบุญ)ลงเมื่อใดก็ได้ผลหลายเท่าฯ ความจริงจะหมายเอาเช่นนี้ก็ไม่ผิดเพราะเป็นที่ยอมรับกันของคนส่วนมาก แต่หากวิเคราะห์อีกแง่คือ ต้องยอมรับว่าพระพุทธเจ้าไม่ได้ประสงค์ให้ทำบุญโดยเจาะจงบุคคลหรือกลุ่มคณะ เช่นเลือกทำเฉพาะกลุ่มที่ตนชอบหรือศรัทธา เลือกเฉพาะศาสนาตนเองและเกลียดชังศาสนาอื่น(บ้างก็เชื่อแบบงมงายว่าจะได้บุญมากเป็นต้น) เพราะการกระทำเหล่านั้นเป็นการให้แบบไม่ยอมเปิดใจและหวังผลคือบุญก้อนโตตอบแทนตนในภพนี้ภพหน้า พูดอย่างตรงไปตรงมาการทำบุญประเภทนี้ไม่ได้บุญด้วยซ้ำฯ ส่วนบุญที่แท้ในพุทธศาสนาคือการให้ทาน รักษาศีลและเจริญภาวนา สังเกตให้ดีว่าทั้งสามอย่างเป็นเครื่องมือในการลดกิเลส ควบคุมตนเองและเสริมสร้างปัญญาทั้งสิ้น ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าการกระทำประเภทใดที่ไม่เอื้อแก่การลดกิเลสทั้งสามอย่างนี้ไม่ใช่บุญที่แท้จริง(เพราะยังประกอบด้วยทุกข์) บุญที่พระองค์สรรเสริญจึงเป็นการมุ่งกำจัดกิเลสและเนื้อนาบุญในที่นี้ก็ควรแปลเอาใจความที่แท้จริงคือ พระสงฆ์เป็นนาเพาะบุญ นั่นคือนาที่เพาะ/ให้ความรู้ที่ถูกต้องแก่ประชาชน ทำให้เขาสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมตนเองไปในทางที่ดีขึ้น จิตใจโอบอ้อมอารีและมีสติปัญญารู้เท่าทันกิเลสเพื่อความพ้นทุกข์ฯ ซึ่งคำแปลนี้เหมาะสมแก่หน้าที่ของพระสงฆ์มากกว่าจะเป็นเพียงเครื่องมือทำทานของผู้อื่นฯ
....................................................................................

บทสังเวคะปริกิตตะนะ
อิธะ ตะถาคะโต โลเก อุปปันโน,
       พระตถาคตเจ้าเกิดขึ้นแล้วในโลกนี้,
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ,
       เป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง,
ธัมโม จะ เทสิโต นิยยานิโก,
       และพระธรรมที่ทรงแสดงเป็นธรรมเครื่องออกจากทุกข์
อุปะสะมิโก ปะรินิพพานิโก,
       เป็นเครื่องสงบกิเลส เป็นไปเพื่อปรินิพพาน
สัมโพธะคามี สุคะตัปปะเวทิโต,
       เป็นไปเพื่อความรู้พร้อม เป็นธรรมที่พระสุคตประกาศ,
มะยันตัง ธัมมัง สุตฺวา เอวัง ชานามะ,
พวกเราเมื่อได้ฟังธรรมนั้นแล้ว จึงได้รู้อย่างนี้ว่า
ชาติปิ ทุกขา,                   แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์,
ชะราปิ ทุกขา,                  แม้ความแก่ก็เป็นทุกข์,
มะระณัมปิ ทุกขัง,              แม้ความตายก็เป็นทุกข์,
โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสาปิ ทุกขา,
แม้ความโศก ความร่ำไรรำพัน, ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจก็เป็นทุกข์,
อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข,
       ความประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รักที่พอใจก็เป็นทุกข์,
ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข,
       ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักที่พอใจก็เป็นทุกข์,
ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง,
       มีความปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้สิ่งนั้นนั่นก็เป็นทุกข์,
สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา,
       ว่าโดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นตัวทุกข์,
เสยยะถีทัง,               ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ,
รูปูปาทานักขันโธ,        ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือ รูป
เวทะนูปาทานักขันโธ,           ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือ เวทนา
สัญญูปาทานักขันโธ,         ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือ สัญญา
สังขารูปาทานักขันโธ,        ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือ สังขาร
วิญญาณูปาทานักขันโธ,    ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือวิญญาณ
เยสัง ปะริญญายะ,      เพื่อให้สาวกกำหนดรอบรู้อุปาทานขันธ์เหล่านี้เอง[1]
ธะระมาโน โส ภะคะวา,    จึงพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น, เมื่อยังทรงพระชนม์อยู่
เอวัง พะหุลัง สาวะเก วิเนติ,   ย่อมทรงแนะนำสาวกทั้งหลายเช่นนี้เป็นส่วนมาก
เอวัง ภาคา จะ ปะนัสสะ ภะคะวะโต สาวะเกสุ อนุสาสะนี พะหุลา ปะวัตตะติ
อนึ่งคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ย่อมเป็นไปในสาวกทั้งหลาย, ส่วนมากมีส่วนคือ การจำแนกอย่างนั้นว่า,
รูปัง อะนิจจัง,                  รูปไม่เที่ยง,
เวทะนา อนิจจา,               เวทนาไม่เที่ยง,
สัญญา อะนิจจา,               สัญญาไม่เที่ยง,
สังขารา อะนิจจา,             สังขารไม่เที่ยง,
วิญญาณัง อะนิจจัง,           วิญญาณไม่เที่ยง,
รูปัง อะนัตตา,                  รูปไม่ใช่ตัวตน,
เวทะนา อะนัตตา,              เวทนาไม่ใช่ตัวตน,
สัญญา อะนัตตา,              สัญญาไม่ใช่ตัวตน,
สังขารา อะนัตตา,              สังขารไม่ใช่ตัวตน,
วิญญาณัง อะนัตตา,           วิญญาณไม่ใช่ตัวตน,
สัพเพ สังขารา อะนิจจา,      สังขารทั้งหลายทั้งปวง ไม่เที่ยง,
สัพเพ ธัมมา อนัตตาติ                ธรรมทั้งหลายทั้งปวงไม่ใช่ตัวตน ดังนี้
เต(ตา) มะยัง โอติณณามฺหะ,      พวกเราทั้งหลาย เป็นผู้ถูกครอบงำแล้ว,
ชาติยา,                   โดยความเกิด,
ชะรามะระเณนะ,         โดยความแก่ และความตาย,
โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ,
โดยความโศก ความร่ำไรรำพัน, ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจทั้งหลาย,
ทุกโขติณณา,            เป็นผู้ถูกความทุกข์ หยั่งเอาแล้ว,
ทุกขะปะเรตา,            เป็นผู้มีความทุกข์ เป็นเบื้องหน้าแล้ว,
อัปเปวะนามิมัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ อันตะกิริยา ปัญญาเยถาติ.
       ทำไฉน การทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้, จะพึงปรากฏชัดแก่เราได้.

(สำหรับภิกษุสามเณรสวด)
จิระปะรินิพพุตัมปิ ตัง ภะคะวันตัง อุททิสสะ อะระหันตัง สัมมาสัมพุทธัง,
เราทั้งหลายอุทิศเฉพาะพระผู้มีพระภาคเจ้า, ผู้ไกลจากกิเลส, ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง, แม้ปรินิพพานนานแล้ว พระองค์นั้น,
สัทธา อะคารัสฺมา อะนะคาริยัง ปัพพะชิตา,
       เป็นผู้มีศรัทธา ออกบวชจากเรือน ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือนแล้ว,
ตัสฺมิง ภะคะวะติ พฺรัหมะจะริยัง จะรามะ,
       ประพฤติอยู่ซึ่งพรหมจรรย์ ในพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น,
ภิกขูนัง สิกขาสาชีวะสะมาปันนา
       ถึงพร้อมด้วยสิกขาและธรรมเป็นเครื่องเลี้ยงชีวิตของภิกษุทั้งหลาย,
ตัง โน พฺรัหมะจะริยัง อิมัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ อันตะกิริยายะ สังวัตตะตุ.
       ขอให้พรหมจรรย์ของเราทั้งหลายนั้น, จงเป็นไปเพื่อการทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้เทอญ.
(สำหรับแม่ชี อุบาสก อุบาสิกา)
จิระปะรินิพพุตัมปิ ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง คะตา,
เราทั้งหลายผู้ถึงแล้วซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า, แม้ปรินิพพานนานแล้วพระองค์นั้นเป็นสรณะ,
ธัมมัญจะ สังฆัญจะ,    ถึงพระธรรมด้วย ถึงพระสงฆ์ด้วย,
ตัสสะ ภะคะวะโต สาสะนัง ยะถาสะติ ยะถาพะลัง, มะนะสิกะโรมะ อะนุปะฏิปัชชามะ
จักทำในใจอยู่ ปฏิบัตตามอยู่, ซึ่งคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นตามสติกำลัง
สา สา โน ปฏิปัตติ,     ขอให้ความปฏิบัตินั้นๆ ของเราทั้งหลาย,
อิมัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ อันตะกิริยายะ สังวัตตะตุ.
       จงเป็นไปเพื่อการทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้เทอญ.


[1] ขันธ์ ๕ ในกรณีที่กล่าวถึงชีวิตมนุษย์ก็คือร่างกาย ประกอบด้วย รูป ที่ประกอบด้วยอวัยวะต่างๆ, เวทนา ความรู้สึก ยินดี ยินร้ายหรือเฉยๆ, สัญญา ความจำได้หมายรู้ เช่นจำได้ว่าสิ่งนี้คือหนังสือ สิ่งนั้นคือปากกา, สังขาร ความคิดปรุงแต่ง ดีบ้างไม่ดีบ้าง, วิญญาณ การรับรู้เช่นตาเห็นรูป หูได้ยินเสียงฯ เหตุที่พระพุทธเจ้าให้มองร่างกายเป็นเพียงขันธ์ห้านี้เพราะมนุษย์จะได้ไม่หลงยึดว่าเป็นตัวเรา เป็นของเรา แต่ทุกองค์ประกอบที่ว่ามาล้วนเกิดจากธรรมชาติและเป็นไปตามธรรมชาติคือ ความไม่เที่ยง เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา(ไปสู่การดับ) และอยู่นอกเหนืออำนาจที่จะเข้าไปควบคุมเช่นจะบอกว่าอย่าแก่ อย่าตายก็ไม่ได้ ในเมื่อสิ่งใดที่เราสั่งไม่ได้ เราจะอ้างว่าสิ่งนั้นเป็นของเราได้อย่างไร นั่นเป็นแค่ความเข้าใจผิดแล้วไปหลงยึดเท่านั้นฯ
.................................................................
บทสวดพิเศษ


 
ตังขณิกปัจจเวกขณ์(ปฏิสังขา)
(หันทะ มะยัง ตังขะณิกะปัจจะเวกขะณะปาฐัง ภะณามะ เส)
สำหรับฆราวาสก็สวดบทนี้ได้ เพียงแต่ขณะสวดเรื่องจีวรให้นึกถึงเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม เมื่อสวดเรื่องบิณบาตก็นึกถึงข้าวปลาอาหาร เหตุผลของการสวดบทนี้เพื่อให้ทราบถึงวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของการใช้ปัจจัย ๔ ไม่หลงไหล เช่นเสื้อผ้าเพื่อปกปิดร่างกาย ไม่ใช่แฟชั่นหรือความสวยงามฯลฯ
  (บทพิจารณาเครื่องนุ่งห่ม)
ปะฏิสังขา โยนิโส จีวะรัง ปฏิเสวามิ,
       เราย่อมพิจารณาโดยแยบคาย แล้วนุ่งห่มจีวร,
ยาวะเทวะ สีตัสสะปฏิฆาตายะ,      เพียงเพื่อบำบัดความหนาว, 
อุณฺหัสสะ  ปะฏิฆาตายะ,             เพื่อบำบัดความร้อน, 
ฑังสะมะกะสะวาตาตะปะสิริงสะปะสัมผัสสานัง ปะฏิฆาตายะ,     
เพื่อบำบัดสัมผัสอันเกิดจาก เหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย
ยาวะเทวะ หิริโกปินะปะฏิจฉาทะนัตถัง, 
และเพียงเพื่อปกปิดอวัยวะอันให้เกิดความละอาย.

(บทพิจารณาอาหาร)
ปะฏิสังขา โยนิโส ปิณฑะปาตัง ปะฏิเสวามิ, 
เราย่อมพิจารณาโดยแยบคายแล้วฉันบิณฑบาต,
เนวะทะวายะ,   ไม่ให้เป็นไปเพื่อความเพลิดเพลินสนุกสนาน, 
นะมะทายะ,     ไม่ให้เป็นเพื่อความเมามันเกิดกำลังพลังทางกาย,                             
นะมัณฑะนายะ,   ไม่ให้เป็นไปเพื่อประดับ,
นะ วิภูสะนายะ,    ไม่ให้เป็นไปเพื่อตกแต่ง, 
ยาวะเทวะ อิมัสสะ กายัสสะ ฐิติยา, แต่ให้เป็นไปเพียงเพื่อความตั้งอยู่ได้แห่งกายนี้,
ยาปะนายะ,              เพื่อความเป็นไปได้ของอัตภาพ,
วิหิงสุปะระติยา,         เพื่อความสิ้นไปแห่งความลำบากทางกาย,
พฺรัหมะจะริยานุคคะหายะ,  เพื่ออนุเคราะห์แก่การประพฤติพรหมจรรย์, 
อิติ ปุราณัญจะ เวทะนัง ปะฏิหังขามิ,
ด้วยการทำอย่างนี้, เราย่อมระงับเสียได้ซึ่งทุกขเวทนาเก่า คือความหิว,
นะวัญจะ เวทะนัง นะ อุปปาเทสสามิ, และไม่ทำทุกขเวทนาใหม่ให้เกิดขึ้น, 
ยาตฺรา จะ เม ภะวิสสะติ อะนะวัชชะตา จะ ผาสุวิหาโร จาติ,    
อนึ่ง ความเป็นไปโดยสะดวกแห่งอัตตภาพนี้ด้วย ความเป็นผู้หาโทษมิได้ด้วย, และความเป็นอยู่โดยผาสุกด้วยจักมีแก่เราดังนี้.

(บทพิจารณาที่อยู่อาศัย)
ปะฏิสังขา โยนิโส เสนาสะนัง ปะฏิเสวามิ,
เราย่อมพิจารณาโดยแยบคาย แล้วใช้สอยเสนาสนะ,   
ยาวะเทวะ สีตัสสะ ปะฏิฆาตายะ,     เพียงเพื่อบำบัดความหนาว, 
อุณหัสสะ ปะฏิฆาตายะ,              เพื่อบำบัดความร้อน,
ฑังสะมะกะสะวาตาตะปะสิริงสะปะสัมผัสสานัง ปะฏิฆาตายะ,        
เพื่อบำบัดสัมผัสอันเกิดจาก เหลือบ ยุง ลม เเดด และสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย, 
ยาวะเทวะ อุตุปะริสสะยะวิโนทะนัง ปะฏิสัลลานารามัตถัง,     
เพียงเพื่อบรรเทาอันตรายอันจะพึงมีจากดินฟ้าอากาศและเพื่อความเป็นผู้ยินดีอยู่ได้ในหลีกเร้นสำหรับภาวนา.

(บทพิจารณายารักษาโรค)
ปะฏิสังขา โยนิโส คิลานะปัจจะยะเภสัชชะปะริกขารัง ปฏิเสวามิ, 
เราย่อมพิจารณาโดยแยบคายแล้วบริโภคเภสัชบริขารอันเกื้อกูลแก่คนไข้,    
ยาวะเทวะ อุปปันนานัง เวยยาพาธิกานัง เวทะนานัง ปะฏิฆาตายะ, 
เพียงเพื่อบำบัดทุกขเวทนา อันบังเกิดขึ้นแล้ว มีอาพาธต่างๆเป็นมูล,
อัพฺยาปัชฌะปะระมะตายาติ.
เพื่อความเป็นผู้ไม่มีโรคเบียดเบียนเป็นอย่างยิ่ง ดังนี้.
.................................................

เขมาเขมสรณทีปิกคาถา
(หันทะ มะยัง เขมาเขมะสะระณะทีปิกะคาถาโย ภะณามะ เส)
เชิญเถิด เราทั้งหลาย จงกล่าวคาถาแสดงสรณะอันเกษมและไม่เกษมเถิด
              พะหุง เว สะระณัง ยันติ       ปัพพะตานิ วะนานิ จะ,
              อารามะรุกขะเจตฺยานิ           มะนุสสา ภะยะตัชชิตา
มนุษย์เป็นอันมาก เมื่อเกิดมีภัยคุกคามแล้ว, ก็ถือเอาภูเขาบ้าง ป่าไม้บ้าง  อารามและรุกขเจดีย์บ้างเป็นสรณะ
              เนตัง โข สะระณัง เขมัง        เนตัง สะระณะมุตตะมัง,
              เนตัง สะระณะมาคัมมะ        สัพพะ ทุกขา ปะมุจจะติ
นั่นมิใช่สรณะอันเกษมเลย, นั่นมิใช่สรณะอันสูงสุด, เขาอาศัยสรณะนั่นแล้ว, ย่อมไม่พ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้
              โย จะ พุทธัญจะ ธัมมัญจะ      สังฆัญจะ สะระณัง คะโต,           
              จัตตาริ อะริยะสัจจานิ          สัมมัปปัญญายะ ปัสสะติ
ส่วนผู้ใดถือเอาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะแล้ว, เห็นอริยสัจคือความจริงอันประเสริฐสี่ด้วยปัญญาอันชอบ
       ทุกขัง ทุกขะสะมุปปาทัง            ทุกขัสสะ จะ อะติกกะมัง,            
      อะริยัญจัฏฐังคิกัง มัคคัง           ทุกขูปะสะมะคามินัง
คือเห็นความทุกข,์ เหตุให้เกิดทุกข์, ความก้าวล่วงพ้นทุกข์เสียได้, และหนทางมีองค์แปดอันประเสริฐเครื่องถึงความระงับทุกข์
       เอตัง โข สะระณัง เขมัง         เอตัง สะระณะมุตตะมัง,             
       เอตัง สะระณะมาคัมมะ        สัพพะทุกขา ปะมุจจะติ
นั่นแหละเป็นสรณะอันเกษม, นั่นเป็นสรณะอันสูงสุด, เขาอาศัยสรณะนั่นแล้วย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้

อริยธนคาถา
(หันทะ มะยัง อะริยะธะนะคาถาโย ภะณามะ เส)
เชิญเถิด เราทั้งหลาย จงกล่าวคาถาสรรเสริญอริยทรัพย์เถิด.
              ยัสสะ สัทธา ตะถาคะเต อะจะลา สุปะติฏฐิตา
ศรัทธาในพระตถาคตของผู้ใดตั้งมั่นอย่างดีไม่หวั่นไหว
              สีลัญจะ ยัสสะ กัลฺยาณัง       อะริยะกันตัง ปะสังสิตัง
และศีลของผู้ใดงดงาม, เป็นที่สรรเสริญที่พอใจของพระอริยเจ้า
              สังเฆ ปะสาโท ยัสสัตถิ         อุชุภูตัญจะ ทัสสะนัง
ความเลื่อมใสของผู้ใดมีในพระสงฆ์, และความเห็นของผู้ใดตรง
              อะทะลิทโทติ ตัง อาหุ          อะโมฆันตัสสะ ชีวิตัง
บัณฑิตกล่าวเรียกเขาผู้นั้นว่าคนไม่จน, ชีวิตของเขาไม่เป็นหมัน[1]
              ตัสฺมา สัทธัญจะ สีลัญจะ       ปะสาทัง ธัมมะทัสสะนัง,
              อะนุยุญเชถะ เมธาวี            สะรัง พุทธานะสาสะนัง
เพราะฉะนั้น เมื่อระลึกได้ถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าอยู่, ผู้มีปัญญาควรสร้างศรัทธา ศีล ความเลื่อมใสและความเห็นธรรมให้เนืองๆ

ติลักขณาทิคาถา
(หันทะ มะยัง ติลักขะณาทิคาถาโย ภะณามะ เส)
เชิญเถิด เราทั้งหลาย จงกล่าวคาถาแสดงพระไตรลักษณ์กันเถิด
สัพเพ สังขารา อะนิจจาติ     ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ
เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า, สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง
อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข        เอสะ มัคโค วิสุทธิยา
เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ที่ตนหลง, นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด
สัพเพ สังขารา ทุกขาติ         ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ
เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า, สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์
อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข        เอสะ มัคโค วิสุทธิยา
เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ที่ตนหลง, นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด
สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ       ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ
เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า, ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา
อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข        เอสะ มัคโค วิสุทธิยา
เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ ที่ตนหลง, นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด
อัปปะกา เต มะนุสเสสุ          เย ชะนา ปาระคามิโน
ในหมู่มนุษย์ทั้งหลาย ผู้ที่ถึงฝั่งแห่งพระนิพพานมีน้อยนัก
อะถายัง อิตะรา ปะชา          ตีระเมวานุธาวะติ
หมู่มนุษย์นอกนั้นย่อมวิ่งเลาะอยู่ตามฝั่งในนี่เอง
เย จะ โข สัมมะทักขาเต        ธัมเม ธัมมานุวัตติโน
ก็ชนเหล่าใดประพฤติสมควรแก่ธรรมในธรรมที่ตรัสไว้ชอบแล้ว
เต ชะนา ปาระเมสสันติ        มัจจุเธยยัง สุทุตตะรัง
ชนเหล่านั้นจักถึงฝั่งแห่งพระนิพพาน ข้ามพ้นบ่วงแห่งมัจจุที่ข้ามได้ยากนัก
กัณหัง ธัมมัง วิปปะหายะ       สุกกัง ภาเวถะ ปัณฑิโต
จงเป็นบัณฑิตละธรรมดำเสีย, แล้วเจริญธรรมขาว[2]
โอกา อะโนกะมาคัมมะ          วิเวเก ยัตถะ ทูระมัง,
ตัตฺราภิระติมิจเฉยยะ            หิตฺวา กาเม อะกิญจะโน
จงมาถึงที่ไม่มีน้ำ จากที่มีน้ำ[3] จงละกามเสีย เป็นผู้ไม่มีความกังวล, จงยินดีเฉพาะต่อพระนิพพาน อันเป็นที่สงัดซึ่งสัตว์ยินดีได้โดยยาก

ภัทเทกรัตตคาถา
(หันทะ มะยัง ภัทเทกะรัตตะคาถาโย ภะณามะ เส)
เชิญเถิด เราทั้งหลาย จงกล่าวคาถาแสดงผู้มีราตรีเดียวเจริญเถิด
อะตีตัง นานฺวาคะเมยยะ               นัปปะฏิกังเข อะนาคะตัง
บุคคลไม่ควรตามคิดถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้วด้วยอาลัย และไม่พึงพะวงถึงสิ่งที่ยังไม่มาถึง
ยะทะตีตัมปะหีนันตัง                  อัปปัตตัญจะ อะนาคะตัง
สิ่งเป็นอดีตก็ละไปแล้ว สิ่งเป็นอนาคตก็ยังไม่มา[4]
ปัจจุปปันนัญจะ โย ธัมมัง      ตัตถะ ตัตถะ วิปัสสะติ,
อะสังหิรัง อะสังกุปปัง         ตัง วิทธา มะนุพฺรูหะเย
ผู้ใดเห็นธรรมอันเกิดขึ้นเฉพาะหน้าที่นั้นๆ อย่างแจ่มแจ้ง ไม่ง่อนแง่นคลอนแคลน, เขาควรพอกพูนอาการเช่นนั้นไว้
อัชเชวะ กิจจะมาตัปปัง         โก ชัญญา มะระณัง สุเว
ความเพียรเป็นกิจที่ต้องทำวันนี้ ใครจะรู้ความตายแม้พรุ่งนี้
นะ หิ โน สังคะรันเตนะ        มะหาเสเนนะ มัจจุนา
เพราะการผัดเพี้ยนต่อมัจจุราชซึ่งมีเสนามากย่อมไม่มีสำหรับเรา
เอวัง วิหาริมาตาปิง             อะโหรัตตะมะตันทิตัง,
ตัง เว ภัทเทกะรัตโตติ          สันโต อาจิกขะเต มุนิ
มุนีผู้สงบย่อมกล่าวเรียกผู้มีความเพียรอยู่เช่นนั้น, ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันกลางคืนว่า, "ผู้เป็นอยู่แม้เพียงราตรีเดียวก็น่าชมฯ

ภารสุตตคาถา
(หันทะ มะยัง ภาระสุตตะคาถาโย ภะณามะ เส)
เชิญเถิด เราทั้งหลาย จงกล่าวคาถาแสดงภารสูตรเถิด
ภารา หะเว ปัญจักขันธา        ขันธ์ทั้งห้า เป็นของหนักเน้อ
ภาระหาโร จะ ปุคคะโล         บุคคลแหละเป็นผู้แบกของหนักพาไป
ภาราทานัง ทุกขัง โลเก         การแบกถือของหนักเป็นความทุกข์ในโลก
ภาระนิกเขปะนัง สุขัง           การสลัดของหนักทิ้งลงเสียเป็นความสุข
นิกขิปิตฺวา คะรุง ภารัง พระอริยเจ้าสลัดทิ้งของหนักลงเสียแล้ว
อัญญัง ภารัง อะนาทิยะ        ทั้งไม่หยิบฉวยเอาของหนักอันอื่นขึ้นมาอีก
สะมูลัง ตัณหัง อัพพุยฺหะ      เป็นผู้ถอนตัณหาขึ้นได้กระทั่งราก
นิจฉาโต ปะรินิพพุโต    เป็นผู้หมดสิ่งปรารถนาดับสนิทไม่มีส่วนเหลือ

ธัมมคารวาทิคาถา[5]
(หันทะ มะยัง ธัมมะคาระวาทิคาถาโย ภะณามะ เส)
เชิญเถิด เราทั้งหลาย จงกล่าวคาถาแสดงความเคารพพระธรรมเถิด
เย จะ อะตีตา สัมพุทธา        เย จะ พุทธา อะนาคะตา,
โย เจตะระหิ สัมพุทโธ          พะหุนนัง โสกะนาสะโน
พระพุทธเจ้าบรรดาที่ล่วงไปแล้วด้วย, ที่ยังไม่มาตรัสรู้ด้วย, และพระพุทธเจ้าผู้ขจัดโศกของมหาชนในกาลบัดนี้ด้วย
สัพเพ สัทธัมมะคะรุโน          วิหะริงสุ วิหาติ จะ,
อะถาปิ วิหะริสสันติ             เอสา พุทธานะธัมมะตา
พระพุทธเจ้าทั้งปวงนั้นทุกพระองค์เคารพพระธรรม,ได้เป็นมาแล้วด้วย, กำลังเป็นอยู่ด้วยและจักเป็นด้วย, เพราะธรรมดาของพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นเช่นนั้นเอง
ตัสฺมา หิ อัตตะกาเมนะ        มะหัตตะมะภิกังขะตา,
สัทธัมโม คะรุกาตัพโพ         สะรัง พุทธานะสาสะนัง
เพราะฉะนั้นบุคคลผู้รักตน หวังอยู่เฉพาะคุณเบื้องสูง, เมื่อระลึกได้ถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าอยู่จงทำความเคารพพระธรรม
นะ หิ ธัมโม อะธัมโม จะ        อุโภ สะมะวิปากิโน
ธรรมและอธรรมจะมีผลเหมือนกันทั้งสองอย่างหามิได้
อะธัมโม นิระยัง เนติ           ธัมโม ปาเปติ สุคะติง
อธรรมย่อมนำไปนรก, ธรรมย่อมนำให้ถึงสุคติ
       ธัมโม หะเว รักขะติ ธัมมะจาริง 
ธรรมแหละย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรมเป็นนิตย์
       ธัมโม สุจิณโณ สุขะมาวะหาติ 
ธรรมที่ประพฤติดีแล้วย่อมนำสุขมาให้ตน
       เอสานิสังโส ธัมเม สุจิณเณ     
นี่เป็นอานิสงส์ในธรรมที่ตนประพฤติดีแล้ว

โอวาทปาติโมกขคาถา[6]
(หันทะ มะยัง โอวาทะปาติโมกขะคาถาโย ภะณามะ เส)
เชิญเถิด เราทั้งหลาย จงกล่าวคาถาแสดงพระโอวาทปาติโมกข์เถิด
สัพพะปาปัสสะ อะกะระณัง    การไม่ทำบาปทั้งปวง
กุสะลัสสูปะสัมปะทา            การทำกุศลให้ถึงพร้อม
สะจิตตะปะริโยทะปะนัง         การชำระจิตของตนให้ขาวรอบ
เอตัง พุทธานะสาสะนัง  ธรรม ๓ อย่างนี้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ขันตี ปะระมัง ตะโป ตีติกขา
       ขันติ คือความอดกลั้นเป็นธรรมเครื่องเผากิเลสอย่างยิ่ง
นิพพานัง ปะระมัง วะทันติ พุทธา
       ผู้รู้ทั้งหลายกล่าวพระนิพพานว่าเป็นธรรมอันยิ่ง
นะ หิ ปัพพะชิโต ปะรูปะฆาตี        
       ผู้กำจัดสัตว์อื่นอยู่ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิตเลย
สะมะโณ โหติ ปะรัง วิเหฐะยันโต    
       ผู้ทำสัตว์อื่นให้ลำบากอยู่ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะเลย
อะนูปะวาโท อะนูปะฆาโต       การไม่พูดร้าย, การไม่ทำร้าย
ปาติโมกเข จะ สังวะโร         การสำรวมในปาติโมกข์
มัตตัญญุตา จะ ภัตตัสฺมิง     ความเป็นผู้รู้ประมาณในการบริโภค
ปันตัญจะ สะยะนาสะนัง      การนอนการนั่งในที่อันสงัด
อะธิจิตเต จะ อาโยโค           ความหมั่นประกอบในการทำจิตให้ยิ่ง
เอตัง พุทธานะ สาสะนัง ธรรม ๖ อย่างนี้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

[1] หมายถึงเกิดมาไม่เสียเปล่า แต่สามารถพัฒนาตนได้
[2] ธรรมดำหมายถึงอกุศลธรรมคือความชั่ว ธรรมขาวคือกุศลกรรมหรือความดี
[3] หมายถึงก้าวให้ถึงพระนิพพาน(สภาวะที่พ้นจากกิเลสและกองทุกข์) จะได้ไม่ถูกกิเลสเป็นต้นพัดไปอีก
[4] ไม่ได้หมายความว่าห้ามคิดเรื่องอดีตหรือวางแผนอนาคตเลย เราสามารถทำสิ่งเหล่านั้นได้(และจำเป็นต้องทำอย่างยิ่ง) เพราะมิเช่นนั้นจะเป็นคนที่ไม่มีจุดหมายในการดำรงชีวิต ภาษิตนี้ต้องการสอนว่า เมื่อนึกถึงอดีตก็ให้เอามาเป็นครู นึกถึงอนาคตก็วางแผนในสิ่งที่นำไปสู่ความเจริญ แต่เมื่อนึกเสร็จแล้วเป็นอันเสร็จกัน ไม่เอาแต่ฟุ้งซ่านหรือจินตนาการอยู่กับเรื่องเหล่านั้น จากนั้นก็หันมาทำปัจจุบันขณะให้ดีที่สุด ในที่นี้อาจหมายถึงการมีสติอยู่ทุกขณะ(เหมือนการทำสมาธิหรือฝึกสตินั่นเอง)
[5] บทนี้เป็นการตอบคำถามที่ว่า เมื่อพระพุทธเจ้าเป็นใหญ่ที่สุดแล้ว พระองค์จะเคารพใคร? คำตอบคือเคารพพระธรรมอันได้แก่ความจริงหรือความถูกต้อง พระองค์ยังตรัสต่อไปอีกว่าเมื่อพระสงฆ์แข็งแกร่งขึ้น พระองค์ก็จะเคารพพระสงฆ์ ท่านพุทธทาสจึงกล่าวว่าให้พระสงฆ์พิจารณาคำนี้ให้ดี แม้พระพุทธเจ้าก็ยังเคารพสงฆ์ ดังนั้นพฤติกรรมที่ไม่ดี ขัดกับพระธรรมวินัยภิกษุควรงดเสีย
[6] จะกล่าวว่าบทนี้เป็นหัวใจหลักของพุทธศาสนาก็ว่าได้
...................................................................
 
ปัจฉิมพุทโธวาทปาฐะ
(หันทะ มะยัง ปัจฉิมะพุทโธวาทะปาฐัง ภะณามะ เส)
เชิญเถิด เราทั้งหลายจงกล่าวพระโอวาทครั้งสุดท้ายของพระพุทธเจ้า
หันทะทานิ ภิกขะเว อามันตะยามิ โว
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เราขอเตือนท่านทั้งหลายว่า
วะยะธัมมา สังขารา
สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา
อัปปะมาเทนะ สัมปาเทถะ
ท่านทั้งหลายจงทำความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด
อะยัง ตะถาคะตัสสะ ปัจฉิมา วาจา
นี้เป็นพระวาจามีในครั้งสุดท้ายของพระตถาคตเจ้า

สัพพปัตติทานคาถา
(นำ) หันทะ มะยัง สัพพะปัตติทานคาถาโย ภะณามะ เส.
ปุญญัสสิทานิ กะตัสสะ         ยานัญญานิ กะตานิ เม,
เตสัญจะ ภาคิโน โหนตุ         สัตตานันตาปปะมาณะกา,
สัตว์ทั้งหลาย ไม่มีที่สุด ไม่มีประมาณ, จงมีส่วนแห่งบุญที่ข้าพเจ้าได้ทำในบัดนี้, และแห่งบุญอื่นที่ได้ทำไว้ก่อนแล้ว
เย ปิยา คุณะวันตา จะ          มัยหัง มาตาปิตาทะโย
ทิฏฐา เม จาปฺยะทิฏฐา วา      อัญเญ มัชฌัตตะเวริโน,
คือจะเป็นสัตว์เหล่าใดซึ่งเป็นที่รักใคร่และมีบุญคุณ เช่นมารดาบิดาของข้าพเจ้า เป็นต้นก็ดี, ที่ข้าพเจ้าเห็นแล้วหรือไม่ได้เห็นก็ดี, สัตว์เหล่าอื่นที่เป็นกลางๆ หรือเป็นคู่เวรกันก็ดี
สัตตา ติฏฐันติ โลกัสฺมิง        เต ภุมมา จะตุโยนิกา,
ปัญเจกะจะตุโวการา              สังสะรันตา ภะวาภะเว,
สัตว์ทั้งหลาย ตั้งอยู่ในโลก, อยู่ในภูมิทั้งสาม อยู่ในกำเนิดทั้งสี่, มีขันธ์ห้าขันธ์ มีขันธ์ขันธ์เดียว มีขันธ์สี่ขันธ์, กำลังท่องเที่ยวอยู่ในภพน้อยภพใหญ่ก็ดี
ญาตัง เย ปัตติทานัมเม        อะนุโมทันตุ เต สะยัง,
เย จิมัง นัปปะนันติ             เทวา เตสัง นิเวทะยุง,
สัตว์เหล่าใด รู้ส่วนบุญที่ข้าพเจ้าแผ่ให้แล้ว, สัตว์เหล่านั้นจงอนุโมทนาเองเถิด, ส่วนสัตว์เหล่าใดยังไม่รู้ส่วนบุญนี้, ขอให้เทวดาทั้งหลายจงบอกสัตว์เหล่านั้นให้รู้
มะยา ทินนานะ ปุญญานัง       อะนุโมทะนะเหตุนา,
สัพเพ สัตตา สะทา โหนตุ       อะเวรา สุขะชีวิโน,
เขมัปปะทัญจะ ปัปโปนตุ       เตสาสา สิชฌะตัง สุภา.
       เพราเหตุที่ได้อนุโมทนาส่วนบุญที่ข้าพเจ้าแผ่ให้แล้ว, สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร อยู่เป็นสุขทุกเมื่อ, จนถึงบทอันเกษมกล่าวคือพระนิพพาน, ความปรารถนาที่ดีงามของสัตว์เหล่านั้นจงสำเร็จเถิด
.....................................................

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น