การศึกษาพระไตรปิฎก กับ
การคิดเชิงวิพากษ์.......เรื่องนี้อาจทราบดีกันอยู่แล้วนะครับ
เพียงแต่อยากนำมาแบ่ง สามารถแสดงความไม่เห็นด้วยครับ เพราะบางทีผมอาจนำเสนอผิด
อิอิ
วิชาการ...ไม่ใช่การอ้างอิงหนังสือ
หรือพูดให้คนอื่นฟังไม่รู้เรื่องนะครับ แต่เป็นการนำเสนอข้อมูลที่ฉลาด มีเหตุมีผล
ทำให้ผู้ฟังสามารถเลือกที่จะเชื่อหรือรับเอาสิ่งที่มีเหตุผลและตรงกับจริตของตัวเองได้
การศึกษาในแง่วิชาการ(ที่เป็นวิชาการจริงๆ
ไม่ใช่ของปลอมที่อยู่ในเมืองไทยนะครับ)มีลักษณะการคิดในเชิงวิพากษ์
ปัจจุบันมหาวิทยาลัย(ที่อาจไม่ใช่มหาวิทยาลัยสงฆ์หรือโรงเรียนสอนศาสนาอื่นๆ)นำมาใช้อย่างแพร่หลาย
ที่เห็นชัดคือ สาขา ปรัชญา หรือ การเมือง... ที่ไม่สอนให้คนเชื่อ
แต่เสนอแนวทางให้คนเลือกสิ่งที่มีสาระมากที่สุด โดยใช้วิจารณาญาณของตัวเอง
เช่นการเมือง..... ก็ไม่สอนว่า ประชาธิปไตยดีที่สุด เพราะอำนาจอยู่กับประชาชน
ไม่มีผู้อยู่เหนือกฎหมาย อย่างอื่นเลว ..... คอมมิวนิสต์ดีที่สุด
ทุกคนมีความเท่าเทียมกัน ช่วยกันทำงาน อย่างอื่นเลว เพราะทำให้คนเอาเปรียบกัน
เห็นแก่ตัว เป็นต้น
การศึกษาเชิงวิพากษ์
ที่มุ่งให้ผู้เรียนเติบโตทางความคิด จะไม่ป้อนข้อมูลด้านเดียว หรือ
สอนให้เชื่อโดยศิโรราบ (ใครไม่เชื่อก็กลายเป็นคนไม่ดี หรือผิดตลอดกาลฯ)
เมื่อเป็นเช่นนี้ ศาสนาหลายศาสนาเมื่อถูกสอนในแง่เชิงวิพากษ์จึงมีการสั่นครอน
เพราะเน้นแต่ศรัทธาอย่างเดียว มุ่งให้เชื่อในสิ่งที่คนมองไม่เห็น
เรื่องนี้ในอดีตไม่เคยมีปัญหากับพุทธศาสนา
ที่ธรรมะเป็นประเภท...”สันทิฏฐิโก”
(Understandable) คนสามารถเข้าใจได้โดยไม่ต้องฝากความเชื่อไว้กับสิ่งเหนือธรรมชาติ
เช่น พลัดพรากจากของรักของชอบใจก็เป็นทุกข์
มีความปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ฯลฯ
เรื่องนี้เป็นสิ่งที่ฟังแล้วสามารถเข้าใจได้เลย
โดยไม่ต้องใช้ความเชื่อในตัวศาสดาหรือพระเจ้ามากำหนด
พุทธศาสนาที่เป็นสัจธรรมความจริงจึงไปกันได้กับการตรวจสอบเหตุผลในการศึกษาเชิงวิพากษ์
วิธีการง่ายๆในการเรียนเชิงวิพากษ์...(อาจประยุกต์ใช้กับการศึกษาพระไตรปิฎก
หรือ ชมรม พระไตรปิฎกศึกษาของเราได้???) เขาจะไม่เพียงแต่นำเสนอข้อมูลที่ก็อบมาจากนั่น
จากนี่เท่านั้น เพราะการก็อบข้อมูลมาวาง อาจมีประโยชน์ที่ทำให้คนได้รับรู้
แต่ไม่เป็นไปในทางให้เกิดปัญญา (เรื่องนี้อาจไม่เสมอไปนะครับ
เพราะบางคนต่อให้นำเสนอเฉยๆ ก็มีช่องว่างที่เปิดโอกาสให้คนได้คิดตามได้)
แต่การนำเสนอต้องประกอบด้วย
๑. บทความ ที่มา หรือ พระสูตร.....
อาจเป็นทั้งหมด หรือตัดมาเฉพาะที่ต้องการนำเสนอให้พอเข้าใจได้
๒. ต้องถามตัวเอง...โดยการอธิบายว่า
ตนเองเห็นด้วยกับบทความหรือ พระสูตรนั้นหรือไม่อย่างไร มีความถูกต้อง
สมเหตุสมผลหรือไม่? เรื่องนี้ก็อย่ายกให้เป็นเรื่องของพระอรหันต์เท่านั้น
ปุถุชนอย่างเราไม่สามารถเข้าใจได้ เพราะถ้าเป็นเช่นนี้ เราก็ไม่ต้องศึกษาอะไรเลย
ได้แต่ฟังแล้วเชื่อฯลฯ อย่างที่ยกไปแล้วข้างต้นว่า ธรรมะที่มีเหตุมีผล
จะมีความชัดเจนอยู่ในตัว ขอแค่เราเป็นคนมีเหตุมีผลหน่อย
ไม่เชื่ออะไรงมงาย(รวมถึงพระพุทธเจ้า) เราก็จะเห็นว่า
สิ่งนั้นถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง ถ้าเราไม่สามารถสรุปได้ว่า สิ่งนี้ถูกหรือผิด
เราเห็นด้วยหรือไม่ แค่นำมาวาง...การศึกษาก็ไม่มีความหมายเลยในทางปัญญา
นอกจากจะทำให้เราศรัทธามากขึ้นเท่านั้นเอง
เมื่อก่อนฝรั่งเขาอ่านกาลามสูตร
แล้วรู้สึกทึ่งกับหลักคำสอนของพุทธศาสนา ที่เน้นไปที่ตัวความจริงเลย
ไม่ให้มามัวยึดคน หรือเชื่อศาสดาตนเองอยู่(เพราะการยึดคน จะทำให้เราเชื่อแบบสุดใจ และมองคนอื่นผิดไปหมด....)
ศาสนาพุทธจึงเป็นศาสนาที่เน้นเรื่องศักยภาพคนจริงๆ
ทุกคนสามารถพัฒนาตนเองให้ประเสริฐได้
(ไม่เหมือนกับศาสนาอื่นที่เป็นแต่สิ่งที่พระเจ้ากำหนด เดินตามทางที่พระเจ้าชี้นำ
มนุษย์ไม่สามารถมีปัญญาหรือพัฒนาถึงขั้นสูงได้) และสมัยที่กระผมเรียนป.ตรี
กับอาจารย์ฝรั่ง(ซึ่งสอนด้วยวิธีความคิดเชิงวิพากษ์) ทำให้รู้สึกว่า
พุทธศาสนาเป็นสิ่งน่าสนใจ แม้อาจารย์เองก็สนใจ เพราะเรากันสอนด้วยเหตุผล
ให้ฝึกตั้งคำถาม อันนี้คุณเชื่อหรือไม่ ฯ
แต่พอออกมาจากมหาวิทยาลัย(ย้ำว่า
ไม่ใช่มหาวิทยาลัยสงฆ์ อิอิ) เจอคนหลายกลุ่ม
กลับรู้สึกว่าสิ่งที่ได้เรียนมานำมาใช้ไม่ได้เลย
กลุ่มหนึ่งมีความเชื่องมงาย พระจะหลอกให้ทำอะไรก็ทำ เสียเงินเท่าไหร่ก็ยอม
โดยไม่เคยตั้งคำถามว่า
ที่ทำไปมีความถูกต้องสมเหตุสมผลหรือไม่....(คงเป็นเพราะไม่ได้เรียน การคิดเชิงวิพากษ์มา
อิอิ)
อีกกลุ่มมีความซับซ้อนขึ้นมาก
เลิกเชื่อแบบไม่มีเป้าหมาย ใครพูดอะไร ทำอะไรก็ไม่เชื่ออีกแล้ว
ขอเชื่อพระพุทธเจ้าเพียงคนเดียวเท่านั้น กระผมไม่ได้มีปัญหาอะไรกับกลุ่มนี้นะครับ
(เพราะที่เขาทำอาจถูก และที่ผมกำลังพูด อาจผิด...เพราะไม่เป็นพุทธวจนะ อิอิ)
ถ้าเทียบกับกลุ่มแรก กลุ่มนี้ถือว่าดีกว่ามาก
อย่างน้อยก็ไม่ต้องไปเสียเวลากับเรื่องไร้สาระ ประกอบพิธีกรรมงมงาย
ไม่ตกเป็นเหยื่อโจรโพกผ้าเหลือง อิอิ แต่ที่รู้สึกกลัวคือ หลายคนพัฒนาไปจนถึงขั้น
ไม่ยอมพิจารณาคำพูดใครอีกแล้ว หากสิ่งนั้นไม่ใช่พุทธพจน์
ใครจะอธิบายธรรมะให้ง่ายอย่างไรก็รับไม่ได้(ถือเป็นการบิดเบือนคำสอนของพระพุทธเจ้า)
หรือกระทั่ง กาลามสูตร ที่ไม่สอนให้เชื่อเพียงเพราะผู้พูดเป็นครูเรา
แต่ให้ดูความเป็นจริง มีประโยชน์หรือไม่.....ก็ตีความเป็นว่า
พระพุทธเจ้าให้เชื่อท่านคนเดียวเท่านั้น ห้ามไม่ให้เชื่อคนอื่น คำว่าครู
ในพระสูตรนี้ หมายถึงครูทั้ง ๖ (สมัยพุทธกาล) หรือใครก็ตามที่ไม่ใช่พระพุทธเจ้า...
(ซึ่งสิ่งที่กระผมจะพูดต่อไปนี้อาจผิดก็ได้นะครับ....นั่นคือ
หากพระพุทธเจ้าสอนให้พวกเราเชื่อท่านแบบสนิทใจ
แล้วปฏิเสธทุกคนที่ไม่ใช่ท่าน กระผมมองว่า นี่ไม่ใช่การสอนแบบนักปราชญ์ผู้มีปัญญา
หรือ ธรรมะจะมีความเป็นจริงเลย เมื่อกล้าพูดให้เราไม่เชื่อคนอื่น
ไฉนจึงไม่รวมตัวเองเข้าไปด้วย ให้เราพิสูจน์....ความจริงก็ไม่เชิงพิสูจน์
แต่ให้ปฏิเสธไปเลย ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่ตั้งใจฟังด้วยดี
ไม่แม่แต่จะตั้งใจเพื่อศึกษา.....) ที่ยกอันนี้มา
เพียงเพื่อชี้ให้เห็นว่า...สิ่งที่ได้รับรู้มาถึงหลักการของพุทธศาสนาในมหาวิทยาลัย
และเรื่องที่ฝรั่งสนใจพุทธศาสนาเพราะกาลามสูตร กลับใช้ไม่ได้กับคนกลุ่มนี้
เพราะตีความกาลามสูตรต่างกัน สิ่งที่คนกลุ่มนี้ทำคือ
ทำให้พุทธศาสนากลายเป็นศาสนาที่เน้นความเชื่อในตัวศาสดาและตัวพระคัมภีร์
ไม่ต่างจากศาสนาอื่น ... ส่วนเหตุผล ความเหมาะสม เป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาภายหลัง
หรือต้องทิ้งไปหากไม่ตรงกับพุทธพจน์ฯ อย่างไรก็ตาม อันนี้เป็นเพียงบางส่วน
พระไตรปิฎกอีกหลาที่ก็ยังย้ำถึงหลักการของพุทธศาสนาได้ชัดเจนครับ
ความจริง
สิ่งที่เราน่าจะร่วมกันพิจารณาอีกครั้งคือ การศึกษาในพุทธศาสนาคืออะไรกันแน่? การศึกษาพระไตรปิฎก ต่างกับการศึกษาทั่วไปอย่างไร? เราสามารถนำการคิดเชิงวิพากษ์มาใช้กับพุทธศาสนาได้หรือไม่?
หรือ เราต้องใช้ศรัทธามากำหนด ไม่รับสิ่งที่ไม่ใช่พุทธพจน์?
กรณีที่เราเห็นว่า
การศึกษาควรต้องมีการเปิดใจ รับฟังเพื่อพิจารณาหาความจริง ) ไม่รีบรับ
ไม่รีบปฏิเสธ ไม่ว่าคำพูดนั้นเป็นของใคร อะไรก็ตามจะรับก็ต้องมีความสมเหตุสมผล
การศึกษาประเภทนี้ก็จะทำให้เราเติบโตทางปัญญา(อันเป็นจินตามยปัญญาในเบื้องต้น
และเมื่อปฏิบัติจนเกิดผลก็กลายเป็นภาวนามยปัญญา)
หรือหากเราเห็นว่า
การศึกษาที่มีการถกเถียงกัน แสดงเหตุผลกันเป็นเรื่องเสียเวลาในการปฏิบัติ
เราควรนำพุทธวจนะมาเผยแพร่ และเน้นให้เชื่อพุทธวจนะไปเลย จะได้ไม่ยุ่งยาก
เพราะอย่างไรเสีย การเชื่อพระพุทธเจ้าก็มีแต่ดีโดยส่วนเดียว
ไม่มีเลวเลยการศึกษาของพุทธศาสนาก็เปลี่ยนวิธีการเสียใหม่ โดยไม่ต้องยอมรับแนวการสอนแบบตะวันตกให้คนคิดตั้งคำถาม
(เพราะคัมภีร์ของเราจริงอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องพิสูจน์)
นำเสนอสิ่งที่มีในพระไตรปิฎก เชื่อ และนำไปปฏิบัติ หากมีการถกเถียง
ก็ต้องอ้างเฉพาะสิ่งที่มีอยู่ในพระไตรปิฎกเท่านั้น (ไม่รับเหตุผลอย่างอื่น
เพราะปุถุชนสามารถผิดพลาดได้ ไม่เหมือนสัพพัญญู)
ซึ่งการศึกษาโดยการมุ่งให้เชื่อพระคัมภีร์ มีข้อดีง่ายๆคือ
ทำให้คนมีความเป็นหนึ่งเดียวกัน เพราะหากมีข้อขัดแย้งก็กลับไปหาพระคัมภีร์
และเมื่อนำไปปฏิบัติ...ที่สุดก็อาจเข้าถึงภาวนามยปัญญาได้ฯ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น