สิ่งที่พุทธวจนะนิยมควรทำเพิ่ม........กรณีสวดปาติโมกข์ 150 ข้อ
อันนี้เป็นการแสดงความเห็นนะครับ ไม่มีลักษณะโจมตี หรือ เข้าข้างฝ่ายใด (ต่อให้มีเจตนาเช่นนั้นก็จะไม่แสดงออก อิอิ) เพียงแต่เห็นว่ามีประเด็นบางอย่างที่ต้องมาตกลงกันก่อน
ประการแรก คนที่ไม่ใช่พุทธวจนะนิยมก็ตกใจว่า ศีลของพระจะถูกตัดลดลง (ความเป็นพระก็จะหายไป) ให้เข้าใจว่า สำนักพุทธวจนะเขาไม่ได้ตัดทิ้งครับ ศีลข้อน้อยใหญ่พระก็ยังต้องสมาทานเหมือนเดิม ส่วน 150 ข้อนั้นเป็นแต่เพียงที่ต้องเอามาทบทวนเดือนละ 2 ครั้งในพิธีกรรมเท่านั้น เหตุที่ต้องตัดออกไป เพราะมีพุทธวจนะในพระสูตรกล่าวว่า มันมีแค่นั้นคับ..ฉะนั้นอย่าตื่นเต้นและเข้าใจให้ตรงนะคับ
ส่วนท่านที่เป็นพุทธวจนะนิยม ก็อย่าเพิ่งเข้าใจว่า ข้ออื่นๆ นอกจาก 150 ข้อนั้น เป็นสิ่งแปลกปลอม ไม่ใช่ตถาคตภาษิต แต่สาวกที่อกตัญญูแต่งยัดเข้ามาทีหลังหวังจะทำลายศาสนา อิอิ เพราะบรรดา เสขิยวัตร เป็นต้น (ที่ท่านเห็นว่าเป็นของปลอม) ก็เป็นธรรมเนียมที่พระต้องปฏิบัติอยู่แล้วครับ เช่น [วินัยปิฎก ปริวารวรรค ข้อ ๓๙๒] ภิกษุ คะนองมือ หรือเท้า นั่งในละแวกบ้าน ต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ เป็นต้น ฉะนั้น...อย่าเพิ่งตระหนกและคิดไปไกลขนาดศาสนาเสื่อมคับ อิอิ
สิ่งที่พุทธวจนะนิยมควรทำการบ้านเพิ่มคือ
1. ต้องแปลศัพท์ว่า สาธิกํ ให้ได้ว่า ครบถ้วน พอดี ไม่ขาดไม่เกิน.... สังเกตว่า หลายคนชอบเอาพระไตรปิฎกฉบับแปลต่างๆ มาอ้าง เพื่อแสดงว่า ข้อความตรงนี้แปลว่า....”150 ข้อ”...ฉะนั้น การสวดนอกเหนือจาก 150 ข้อจึงผิด อิอิ ประเด็นคือ “เราจะเอาฉบับแปลมายืนยันสักกี่ฉบับก็ไม่มีผล” แต่ต้องกลับไปดูภาษาบาลีคับ ซึ่งฝ่ายที่บอกว่าต้องเป็น 227 ท่านก็ให้เหตุผลโดยอ้างอิงไวยากรณ์ว่า ศัพท์นี้มาจาก สห+อธิกํ สห แปลว่า กับ/พร้อม/ด้วย ส่วน อธิกํ แปลว่า มากกว่า/เกิน รวมกันแล้ว มันจึงแปลว่า มากกว่า 150 ข้อ..ไม่ใช่ 150 ข้อถ้วนคับ
ซึ่งหากจะยืนยันว่ามี 150 ข้อถ้วน ท่านจะต้องหาทางแปล สาธิกํ ให้เป็นอย่างอื่นให้ได้ จะลองแนะนำนะครับ เช่น เมื่อราว2ปีที่แล้ว ท่านก็อ้างเหตุผลว่า สาธิกํ ที่ใช้ในพระไตรปิฎกส่วนใหญ่ จะแปลว่า ถ้วน/พอดี หากจะแปลมันว่ามากกว่า หรือ เกิน ภาษาบาลีมักใช้ อติเรกํ แทน ..... อันนี้ก็น่ารักฟังคับ แต่ต้องแสดงหลักฐานและคำอธิบายที่เป็นรูปธรรมกว่านี้
2. พุทธวจนะนิยม อาจต้องตัดเหตุผลเรื่อง “การสวด 227 ข้อจะทำให้ศาสนาเสื่อมทิ้งไป” เพียงเพราะไม่ตรงตามพุทธวจนะ อิอิ เพราะสิ่งที่ท่านสวดเกินกว่า 150 ข้อนั้น มิได้มีอะไรแปลกปลอมและส่งผลในทางลบเลย สิ่งที่จะทำให้ศาสนาเสื่อมคือ การบัญญัติ(กำหนด) สิ่งที่เป็นธรรมว่า ไม่ใช่ธรรม สิ่งเป็นวินัยว่าไม่ใช่วินัย เช่น พระพุทธเจ้าตรัสว่า การรู้อริยสัจจะทำให้พ้นทุกข์ แล้วพระสาวกมาบอกว่า การรู้อริยสัจ ทำให้ตกนรกต่างหาก อิอิ กรณีของพระวินัย “พระพุทธเจ้าตรัสว่า การฆ่าสัตว์เป็นสิ่งไม่ดี ส่วนพระสาวกก็มาบัญญัติใหม่ว่า เป็นสิ่งที่ควรทำ ได้บุญมาก พระพุทธเจ้าตรัสห้ามไม่ให้พระจับตัวผู้หญิง สาวกมาสอนใหม่ว่าทำได้โดยไม่เป็นอาบัติ” ฯลฯ อันนี้แหละครับ ทำให้ศาสนาเสื่อม ซึ่งการสวด 227 ข้อ ไม่ส่อประเด็นนอกคอกแบบนี้เลย ยังเป็นการลงลึกในรายละเอียดเรื่องแนวปฏิบัติมากกว่าด้วยซ้ำ ฉะนั้น ในการถกเถียง อาจลองต้องทำความเข้าใจเสียใหม่ว่า ศาสนาเสื่อมคืออะไร ต้องทำอย่างไรเป็นต้นโดยการดูบริบท วิธีการปฏิบัติด้วย มิใช่มองตามตัวอักษรเท่านั้นคับ (การยกเหตุผลศาสนาเสื่อมนี้มาอ้าง ทำให้คนทั่วไปมองว่า พุทธวจนะนิยมงมงาย ไม่เข้าใจสาระของพุทธศาสนาคับ)
3. ข้อโต้แย้ง ซึ่งฝั่ง 227 มักนำมาใช้คือ ต่อให้แปลมันว่า 150 ข้อถ้วนแล้วก็จริง แต่พระสูตรที่ตรัสตอนนั้นไม่ใช่ตอนจะปรินิพพาน (ที่ตรัสเสร็จแล้วตาย) เพราะธรรมดาว่า พระพุทธเจ้าบัญญัติวินัยเพิ่มเรื่อยๆ สมัยแรกก็ไม่มีสิกขาบทเพราะพระสงฆ์ยังปฏิบัติตัวดี ไม่เป็นที่ติเตียนของชาวบ้าน เช่น พระโกณฑัญญะ บวชโดยไม่มีสิกขาบทสักข้อ อิอิ แต่พอพระสงฆ์มากขึ้น สิกขาบทก็เพิ่มขึ้น จึงต้องมีการเพิ่มเรื่อยๆ ... ซึ่งช่วงเวลาในการตรัสพระสูตรนั้น อยู่ในช่วงที่ สิกขาบทยังปรับขึ้นหรือลงอยู่ ...ข้อโต้แย้งนี้ พุทธวจนะนิยมก็ควรหาเหตุผลที่ดีกว่ามาแย้งให้ได้ครับ
อันนี้เป็นประเด็นที่ใช้ในการถกเถียงเพื่อให้ตรงกัน และ ยอมรับกันได้นะคับ ส่วนตัว ในทางปฏิบัติ กระผมเห็นด้วยกับการสวด 150 ข้อคับ..เพราะ พิธีกรรมจะได้เสร็จเร็ว ไม่ต้องนั่งนานให้ปวดขา อิอิ ที่สำคัญ การสวดเป็นภาษาบาลี พระส่วนใหญ่ฟังไม่รู้เรื่องอยู่แล้วคับ จึงเป็นการทำตามพิธีเท่านั้น (โดยที่เชื่อว่า ทำแล้วศาสนาจะไม่เสื่อม อิอิ) แต่อย่างไรก็ตาม การถกเถียงเพื่อให้ได้ข้อสรุปก็ยังน่าสนใจอยู่คับ เป็นกำลังใจให้พุทธวจนะนิยมทุกคนนะคับ...ออ ให้ฝ่าย 227 ด้วย อิอิ
อันนี้เป็นการแสดงความเห็นนะครับ ไม่มีลักษณะโจมตี หรือ เข้าข้างฝ่ายใด (ต่อให้มีเจตนาเช่นนั้นก็จะไม่แสดงออก อิอิ) เพียงแต่เห็นว่ามีประเด็นบางอย่างที่ต้องมาตกลงกันก่อน
ประการแรก คนที่ไม่ใช่พุทธวจนะนิยมก็ตกใจว่า ศีลของพระจะถูกตัดลดลง (ความเป็นพระก็จะหายไป) ให้เข้าใจว่า สำนักพุทธวจนะเขาไม่ได้ตัดทิ้งครับ ศีลข้อน้อยใหญ่พระก็ยังต้องสมาทานเหมือนเดิม ส่วน 150 ข้อนั้นเป็นแต่เพียงที่ต้องเอามาทบทวนเดือนละ 2 ครั้งในพิธีกรรมเท่านั้น เหตุที่ต้องตัดออกไป เพราะมีพุทธวจนะในพระสูตรกล่าวว่า มันมีแค่นั้นคับ..ฉะนั้นอย่าตื่นเต้นและเข้าใจให้ตรงนะคับ
ส่วนท่านที่เป็นพุทธวจนะนิยม ก็อย่าเพิ่งเข้าใจว่า ข้ออื่นๆ นอกจาก 150 ข้อนั้น เป็นสิ่งแปลกปลอม ไม่ใช่ตถาคตภาษิต แต่สาวกที่อกตัญญูแต่งยัดเข้ามาทีหลังหวังจะทำลายศาสนา อิอิ เพราะบรรดา เสขิยวัตร เป็นต้น (ที่ท่านเห็นว่าเป็นของปลอม) ก็เป็นธรรมเนียมที่พระต้องปฏิบัติอยู่แล้วครับ เช่น [วินัยปิฎก ปริวารวรรค ข้อ ๓๙๒] ภิกษุ คะนองมือ หรือเท้า นั่งในละแวกบ้าน ต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ เป็นต้น ฉะนั้น...อย่าเพิ่งตระหนกและคิดไปไกลขนาดศาสนาเสื่อมคับ อิอิ
สิ่งที่พุทธวจนะนิยมควรทำการบ้านเพิ่มคือ
1. ต้องแปลศัพท์ว่า สาธิกํ ให้ได้ว่า ครบถ้วน พอดี ไม่ขาดไม่เกิน.... สังเกตว่า หลายคนชอบเอาพระไตรปิฎกฉบับแปลต่างๆ มาอ้าง เพื่อแสดงว่า ข้อความตรงนี้แปลว่า....”150 ข้อ”...ฉะนั้น การสวดนอกเหนือจาก 150 ข้อจึงผิด อิอิ ประเด็นคือ “เราจะเอาฉบับแปลมายืนยันสักกี่ฉบับก็ไม่มีผล” แต่ต้องกลับไปดูภาษาบาลีคับ ซึ่งฝ่ายที่บอกว่าต้องเป็น 227 ท่านก็ให้เหตุผลโดยอ้างอิงไวยากรณ์ว่า ศัพท์นี้มาจาก สห+อธิกํ สห แปลว่า กับ/พร้อม/ด้วย ส่วน อธิกํ แปลว่า มากกว่า/เกิน รวมกันแล้ว มันจึงแปลว่า มากกว่า 150 ข้อ..ไม่ใช่ 150 ข้อถ้วนคับ
ซึ่งหากจะยืนยันว่ามี 150 ข้อถ้วน ท่านจะต้องหาทางแปล สาธิกํ ให้เป็นอย่างอื่นให้ได้ จะลองแนะนำนะครับ เช่น เมื่อราว2ปีที่แล้ว ท่านก็อ้างเหตุผลว่า สาธิกํ ที่ใช้ในพระไตรปิฎกส่วนใหญ่ จะแปลว่า ถ้วน/พอดี หากจะแปลมันว่ามากกว่า หรือ เกิน ภาษาบาลีมักใช้ อติเรกํ แทน ..... อันนี้ก็น่ารักฟังคับ แต่ต้องแสดงหลักฐานและคำอธิบายที่เป็นรูปธรรมกว่านี้
2. พุทธวจนะนิยม อาจต้องตัดเหตุผลเรื่อง “การสวด 227 ข้อจะทำให้ศาสนาเสื่อมทิ้งไป” เพียงเพราะไม่ตรงตามพุทธวจนะ อิอิ เพราะสิ่งที่ท่านสวดเกินกว่า 150 ข้อนั้น มิได้มีอะไรแปลกปลอมและส่งผลในทางลบเลย สิ่งที่จะทำให้ศาสนาเสื่อมคือ การบัญญัติ(กำหนด) สิ่งที่เป็นธรรมว่า ไม่ใช่ธรรม สิ่งเป็นวินัยว่าไม่ใช่วินัย เช่น พระพุทธเจ้าตรัสว่า การรู้อริยสัจจะทำให้พ้นทุกข์ แล้วพระสาวกมาบอกว่า การรู้อริยสัจ ทำให้ตกนรกต่างหาก อิอิ กรณีของพระวินัย “พระพุทธเจ้าตรัสว่า การฆ่าสัตว์เป็นสิ่งไม่ดี ส่วนพระสาวกก็มาบัญญัติใหม่ว่า เป็นสิ่งที่ควรทำ ได้บุญมาก พระพุทธเจ้าตรัสห้ามไม่ให้พระจับตัวผู้หญิง สาวกมาสอนใหม่ว่าทำได้โดยไม่เป็นอาบัติ” ฯลฯ อันนี้แหละครับ ทำให้ศาสนาเสื่อม ซึ่งการสวด 227 ข้อ ไม่ส่อประเด็นนอกคอกแบบนี้เลย ยังเป็นการลงลึกในรายละเอียดเรื่องแนวปฏิบัติมากกว่าด้วยซ้ำ ฉะนั้น ในการถกเถียง อาจลองต้องทำความเข้าใจเสียใหม่ว่า ศาสนาเสื่อมคืออะไร ต้องทำอย่างไรเป็นต้นโดยการดูบริบท วิธีการปฏิบัติด้วย มิใช่มองตามตัวอักษรเท่านั้นคับ (การยกเหตุผลศาสนาเสื่อมนี้มาอ้าง ทำให้คนทั่วไปมองว่า พุทธวจนะนิยมงมงาย ไม่เข้าใจสาระของพุทธศาสนาคับ)
3. ข้อโต้แย้ง ซึ่งฝั่ง 227 มักนำมาใช้คือ ต่อให้แปลมันว่า 150 ข้อถ้วนแล้วก็จริง แต่พระสูตรที่ตรัสตอนนั้นไม่ใช่ตอนจะปรินิพพาน (ที่ตรัสเสร็จแล้วตาย) เพราะธรรมดาว่า พระพุทธเจ้าบัญญัติวินัยเพิ่มเรื่อยๆ สมัยแรกก็ไม่มีสิกขาบทเพราะพระสงฆ์ยังปฏิบัติตัวดี ไม่เป็นที่ติเตียนของชาวบ้าน เช่น พระโกณฑัญญะ บวชโดยไม่มีสิกขาบทสักข้อ อิอิ แต่พอพระสงฆ์มากขึ้น สิกขาบทก็เพิ่มขึ้น จึงต้องมีการเพิ่มเรื่อยๆ ... ซึ่งช่วงเวลาในการตรัสพระสูตรนั้น อยู่ในช่วงที่ สิกขาบทยังปรับขึ้นหรือลงอยู่ ...ข้อโต้แย้งนี้ พุทธวจนะนิยมก็ควรหาเหตุผลที่ดีกว่ามาแย้งให้ได้ครับ
อันนี้เป็นประเด็นที่ใช้ในการถกเถียงเพื่อให้ตรงกัน และ ยอมรับกันได้นะคับ ส่วนตัว ในทางปฏิบัติ กระผมเห็นด้วยกับการสวด 150 ข้อคับ..เพราะ พิธีกรรมจะได้เสร็จเร็ว ไม่ต้องนั่งนานให้ปวดขา อิอิ ที่สำคัญ การสวดเป็นภาษาบาลี พระส่วนใหญ่ฟังไม่รู้เรื่องอยู่แล้วคับ จึงเป็นการทำตามพิธีเท่านั้น (โดยที่เชื่อว่า ทำแล้วศาสนาจะไม่เสื่อม อิอิ) แต่อย่างไรก็ตาม การถกเถียงเพื่อให้ได้ข้อสรุปก็ยังน่าสนใจอยู่คับ เป็นกำลังใจให้พุทธวจนะนิยมทุกคนนะคับ...ออ ให้ฝ่าย 227 ด้วย อิอิ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น