สังเกตเห็นว่า หลายคนชอบใช้ภาษิตนี้และมันเขียนผิดตามที่ยกมาด้านบน ที่จริงเขียนอย่างนี้ครับ
โลโกปตฺถมฺภิกา เมตฺตา (สังเกตว่า มีเพียง 2 ศัพท์เท่านั้นครับ ไม่แยกเป็น 3) เนื่องจาก
1. คำว่า โลโกปตฺถมฺภิกา มาจากการรวมกันของ 2 ศัพท์ คือ
โลก+อุปตฺถมภิกา.... สระ โอ ที่เห็นเกิดมาจากการเปลี่ยนรูปของ สระอุ ครับ
ซึ่งยืมมาจากศัพท์หลัง ฉะนั้นการจะเขียนให้มีรูปโอได้
ต้องเอาศัพท์หลังมาเขียนรวมเข้าด้วยคับ ไม่แยกจากกัน
เช่นคำว่า กุศโลบาย มาจาก กุศล+อุบาย จะเขียนแยกเป็น กุศโล บาย ไม่ได้ครับ หรือ วิเทโศบาย เป็นต้นครับ
ส่วนคำว่า ปตฺถมพิกา ก็ให้เขียนเป็น ปตฺถมฺภิกา (ใช้ ภ สำเภาครับ) วิธีสังเกตง่ายๆ คือเปรียบเทียบกับหลักการเขียนการันต์ในภาษาไทยเอา เนื่องจากเราก็ยืมมาจากบาลีอีกทีหนึ่ง นั่นคือคำว่า อุปถัมภ์ (ไม่ใช่ อุปถัมพ์) แปลว่า การดูแล ค้ำจุนฯลฯ
ที่สำคัญ การศึกษาภาษิตต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นพุทธวจนะ พระไตรปิฎก หรือของนักปราชญ์ท่านอื่น ต้องตระหนักเสมอว่า อาจเป็นความจริงแค่บางส่วนเท่านั้น ซึ่งก็อาจมีอย่างอื่นที่เป็นจริงได้เช่นกัน (ความเชื่อเรื่องเหตุเดียวผลเดียวอาจไม่ถูกต้องตามหลักการพุทธ) เช่น
1. ความเมตตาเป็นธรรมค้ำจุนโลก แต่หากใครจะพูดว่า...
2. ความกรุณาเป็นธรรมค้ำจุนโลก ก็ถูกเหมือนกัน หรือ
3. มุทิตา เป็นธรรมค้ำจุนโลกก็ถูก
4. อุเบกขา เป็นธรรมค้ำจุนโลกก็ได้ (เนื่องจากมีสถานการณ์ที่เราต้องวางท่าทีแบบแตกต่างกัน)
ทำนองเดียวกับการพูดว่า “มนุษย์อยู่ได้ เพราะกินอาหาร”....คนที่ 2 จะพูดว่า มนุษย์อยู่ได้เพราะอากาศ คนที่ 3. บอกว่า มนุษย์อยู่ได้เพราะแสงแดด ก็ถูกทุกคน .... สรุปคือ อย่าเพิ่งมั่นใจว่าภาษิตที่ตนเชื่อเป็นความจริงแท้อยู่อย่างเดียว อย่างอื่นผิดหมดเลย อิอิ ต้องพิจารณาดูเหตุปัจจัยให้รอบด้านก่อนครับ จึงจะเป็นผู้ศึกษาศาสนาโดยไม่ตกเป็นเหยื่อศรัทธา
เช่นคำว่า กุศโลบาย มาจาก กุศล+อุบาย จะเขียนแยกเป็น กุศโล บาย ไม่ได้ครับ หรือ วิเทโศบาย เป็นต้นครับ
ส่วนคำว่า ปตฺถมพิกา ก็ให้เขียนเป็น ปตฺถมฺภิกา (ใช้ ภ สำเภาครับ) วิธีสังเกตง่ายๆ คือเปรียบเทียบกับหลักการเขียนการันต์ในภาษาไทยเอา เนื่องจากเราก็ยืมมาจากบาลีอีกทีหนึ่ง นั่นคือคำว่า อุปถัมภ์ (ไม่ใช่ อุปถัมพ์) แปลว่า การดูแล ค้ำจุนฯลฯ
ที่สำคัญ การศึกษาภาษิตต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นพุทธวจนะ พระไตรปิฎก หรือของนักปราชญ์ท่านอื่น ต้องตระหนักเสมอว่า อาจเป็นความจริงแค่บางส่วนเท่านั้น ซึ่งก็อาจมีอย่างอื่นที่เป็นจริงได้เช่นกัน (ความเชื่อเรื่องเหตุเดียวผลเดียวอาจไม่ถูกต้องตามหลักการพุทธ) เช่น
1. ความเมตตาเป็นธรรมค้ำจุนโลก แต่หากใครจะพูดว่า...
2. ความกรุณาเป็นธรรมค้ำจุนโลก ก็ถูกเหมือนกัน หรือ
3. มุทิตา เป็นธรรมค้ำจุนโลกก็ถูก
4. อุเบกขา เป็นธรรมค้ำจุนโลกก็ได้ (เนื่องจากมีสถานการณ์ที่เราต้องวางท่าทีแบบแตกต่างกัน)
ทำนองเดียวกับการพูดว่า “มนุษย์อยู่ได้ เพราะกินอาหาร”....คนที่ 2 จะพูดว่า มนุษย์อยู่ได้เพราะอากาศ คนที่ 3. บอกว่า มนุษย์อยู่ได้เพราะแสงแดด ก็ถูกทุกคน .... สรุปคือ อย่าเพิ่งมั่นใจว่าภาษิตที่ตนเชื่อเป็นความจริงแท้อยู่อย่างเดียว อย่างอื่นผิดหมดเลย อิอิ ต้องพิจารณาดูเหตุปัจจัยให้รอบด้านก่อนครับ จึงจะเป็นผู้ศึกษาศาสนาโดยไม่ตกเป็นเหยื่อศรัทธา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น