วันพฤหัสบดีที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2557

เส้น แบ่งระหว่าง คุณธรรม กับ ปัญญา

เส้น แบ่งระหว่าง คุณธรรม กับ ปัญญา.....เป็นการยากที่จะแบ่งทั้ง 2 อย่างนี้ออกจากกัน เพราะปัญญาหรือการยึดหลักเหตุผล ความถูกต้องก็ถือเป็นคุณธรรมอย่างหนึ่ง และคุณธรรมเอง จะเป็นความดีงาม (หรือถูกต้องได้) จนเป็นที่น่าเชื่อถือ ก็ต่อเมื่อมีปัญญามาประกอบ แต่เพื่อให้ข้อถกเถียงในสังคมปัจจุบันของทั้ง 2 อย่างนี้เป็นไปได้จึงควรมีการขีดเส้นความแตกต่าง

ซึ่งความจริง พุทธศาสนาเองก็มีการแบ่งหลักการทั้ง 2 อย่างนี้ออกชัดเจนเหมือนกัน ตามหลัก ภาวนา 3 (ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค ข้อ 228)

1. กายภาวนา มนุษย์ต้องพัฒนาพฤติกรรมทางกาย (ผ่านวัตรปฏิบัติทางศีล)
2. จิตตภาวนา การพัฒนาจิตใจ (ผ่านสมาธิ หรือคุณธรรมต่างๆ)
3. ปัญญาภาวนา การพัฒนาปัญญา (การรู้จักเหตุผล มองปัญหาได้ทะลุปรุโปร่งฯ)


จะเห็นว่า จิต (อันหมายถึง ความรู้สึก คุณธรรม ความดีงามทางใจเป็นต้น) แยกออกอย่างชัดเจนจากปัญญาคือ การเข้าใจหลักของเหตุและผล แน่นอนว่า ต่อให้แยกทั้งสามอย่างนี้ออกจากกัน แต่ก็มิได้หมายความว่า มนุษย์ต้องพัฒนาจากข้อแรก ไปถึงข้อที่สาม ตามลำดับเท่านั้น หากแต่จะเริ่มจากส่วนไหนก็ได้ ซึ่งบางครั้ง การพัฒนาตัวหนึ่ง อาจไปเกื้อหนุนการพัฒนาตัวอื่นได้ด้วย (อ้างใน ป.อ.ปยุตฺโต...ธรรมบรรยายเรื่อง ไตรสิกขา)

ฉะนั้น เมื่อแยกคุณธรรมกับปัญญาออกจากกัน คุณธรรมจึงเป็นความดีงาม สิ่งที่คนเชื่อ เคารพบูชายึดเป็นอุดมคติเพื่อสร้างตัวตนของตนเองจึงไม่ต้องมีปัญญามาประกอบ ก็ได้ ส่วนปัญญา ก็ไม่จำเป็นต้องอาศัยความเชื่อ ความรู้สึก มาประกอบด้วยก็ได้ แต่จะเน้นความสามารถในการมองเหตุผลและยืนอยู่กับความถูกต้องได้ ตัวอย่างเช่น

“เมื่อเกิดปัญหาในครอบครัว สามารถแก้ปัญหาได้ 2 ทางคือ ทางแห่งคุณธรรม(จิตใจ)และทางแห่งปัญญา เรามักถูกปลูกฝังว่า การใช้ปัญญาแก้ปัญหาในครอบครัวเป็นสิ่งไม่สมควร เพราะจะนำไปสู่การทะเลาะ เถียงเพื่อหวังแพ้ชนะ ซึ่งต่อให้เราชนะ แต่คนที่แพ้ก็เป็นคนรักของเรา การชนะของเราทำร้ายจิตใจของอีกคน ฉะนั้น ปัญญาจึงไม่สามารถแก้ปัญหาครอบครัวได้ สิ่งที่จำเป็นคือ ความรัก การเสียสละ อันได้แก่ คุณธรรมทางจิตใจต่างหาก อิอิอิ...” ซึ่งถ้ามองแบบไม่เข้าข้างคุณธรรม ก็ต้องแย้งว่า การแก้ปัญหาด้วยความเสียสละนั่นแหละ จะไม่สามารถแก้ปัญหาแบบยั่งยืนได้ เพราะทั้งสองฝ่ายไม่รู้จักความถูกต้อง ปัญหาเกิดซ้ำแล้วซ้ำเล่า ยกเว้น อีกฝ่ายจะบูชาคู่รักตนจนยอมทุกอย่าง ซึ่งสุดท้าย ก็ไม่สามารถพัฒนาคนไปสู่ทางที่เจริญขึ้นได้ (ตามหลัก ภาวนาทั้ง 3 ของพุทธศาสนาเป็นต้น) 

คำนิยาม....ของคุณธรรมและปัญญาอาจแบ่งได้ตามหลักการกระทำตามปรัชญาตะวันตกได้ดังนี้ครับ
------คุณธรรม..เป็นการกระทำด้วย “เจตนาดี แต่ไม่สนใจเครื่องมือ หรือ วิธีการ” ที่จะนำไปสู่เป้าหมายที่ตนเชื่อว่า สิ่งนั้นดี/ถูกต้องอยู่แล้ว

-------ปัญญา ... เราไม่สามารถทราบถึงเจตนาเขาได้ว่าดีหรือไม่ “แต่การกระทำเป็นไปตามกฎของเหตุผล ยึดหลักความถูกต้อง ให้ความสำคัญกับเครื่องมือ หรือวิธีการ” 


อาจมีคนแย้งว่า เจตนาเป็นสิ่งสำคัญมิใช่หรือ กฎหมายก็ยังต้องดูเจตนาของจำเลย...ตอบว่า ดูตรงไหนจึงจะเห็นครับ เราทราบเจตนาได้ก็ผ่านกระบวนการกระทำอีกนั่นแหละ (กรรมจะเป็นเครื่องส่อเจตนา) การตัดสินที่กระบวนการ จะนำไปสู่ข้อสิ้นสุดได้ แต่การดูเจตนา สามารถอ้างคุณธรรมได้แบบไม่จบสิ้นครับ อิอิ

เราลองมาดูตัวอย่างเปรียบเทียบการสอนลูกแบบ อบรม”คุณธรรมทางจิตใจ” และ “การสอนให้ลูกใช้ปัญญา มองเห็นเหตุผลด้วยตนเองดู”

1. ไม่อยากให้ลูกออกไปเล่นในที่มืด ......
พ่อแม่ที่มีคุณธรรมจะสอนว่า “ลูกอย่าไปเล่นตรงนั้นนะ เดี๋ยวจะมีเสือมากิน มีผีมาหลอกฯลฯ สามารถพูดทุกอย่างได้โดยไม่ต้องสนใจความจริง เพราะ...เป้าหมายคือ อยากให้ลูกปลอดภัย


ส่วนพ่อแม่ที่เน้นเหตุผล การใช้ปัญญาจะพูดว่า..... ลูกอย่าไปเล่นตรงนั้น มันมืด อาจมีงูหรือสัตว์มีพิษกัดเอาได้ เพราะความมืด ลูกอาจสะดุดอะไรหกล้มได้ฯลฯ .....โดยมีเป้าหมายเดียวกัน


ผลที่ได้จากการสอนทั้งสองนี้คือ แบบแรก จะเป็นคนดีเชื่อฟังพ่อแม่ เพราะกลัวเสือและผี แต่เมื่อโตขึ้น ได้รับรู้ว่าพ่อแม่โกหก บทเรียนนี้จะเป็นก้าวแรกที่ทำให้เขาทราบว่า พ่อแม่โกหกเขา ซึ่งเด็กจะตอบโต้ด้วยการซักเหตุ ผล เป็นต้น แต่พ่อแม่ประเภทนี้ส่วนใหญ่ไม่สามารถตอบลูกได้ ส่วนประเภทหลัง... โตขึ้นไม่กลัวผี เพราะไม่ถูกปลูกฝังมา เกิดหกล้มหรือโดนงูกัด เขาจะหวนนึกถึงคำเตือนของพ่อแม่...กรณีที่ไปอยู่ที่อื่น เขาก็จะไม่ไปเล่นในที่มืด เพราะเห็นภัยที่แท้จริงของมัน ไม่ใช่การหลอกลวงด้วยเจตนาดีของพ่อแม่

2. อยากให้ลูกทำบุญ เข้าหาศาสนา
พ่อแม่ที่มีคุณธรรม จะสอนลูกว่า “ลูกต้องบริจาคเงินให้วัด ซื้อของไปถวายพระ หรือปล่อยปลาดุก เป็นต้น เพื่อลูกจะได้เก็บบุญไว้เลี้ยงตัว ผลบุญจะทำให้เรียนเก่ง โตขึ้นจะไม่อดอยาก ได้สะเดาะเคราะห์ ตายไปจะไปสู่สวรรค์และนิพพาน


ส่วนพ่อแม่ที่เน้นเหตุผล จะสอนว่า....ลูกต้องคิดถึงคนอื่น ใครมีความทุกข์เราควรช่วยเหลือ พระมีหน้าที่ศึกษาและสอนธรรมะแก่ชาวบ้าน ท่านไม่ทำอาหารฉัน ฉะนั้นถ้ามีโอกาสก็ช่วยใส่บาตรท่าน เพื่อท่านจะได้มีกำลังสอนชาวบ้านในทางที่ถูก มีโอกาสก็ช่วยเหลือสรรพสัตว์ด้วยการให้อาหารมันเป็นต้น คิดถึงความลำบากของคนอื่น ถ้าทุกคนช่วยกัน สังคมก็จะดีขึ้น


การสอนแบบแรก ก็จะทำให้เด็กเป็นคนดี ชอบการเข้าวัด เห็นพระเป็นต้องยกมือไหว้หรือถวายของ (เงิน) มีการสะเดาะเคราะห์ปล่อยปลาที่ไหนก็ร่วมด้วยเสมอ เพราะหวังให้โชคชะตาตัวเองดี ร่ำรวย ส่วนเด็กประเภทหลัง ก่อนทำอะไร ช่วยเหลือใคร ก็คิดถึงความเหมาะสมก่อน นึกถึงประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับผู้นั้น (ไม่ใช่ตัวเอง) ซึ่งเด็กคนนี้จะไม่ตกเป็นเหยื่อบุญหรือศรัทธาของใคร 

จะเห็นว่า การสอนด้วยคุณธรรมความเชื่อ และปัญญาการพิจารณาเหตุผล มีความแตกต่างกันอย่างมาก แบบแรกเป็นการรักษาขนบ ดำรงรูปแบบของศาสนา และเชื่อมั่นว่าตนเป็นคนดีโดยไม่ต้องตั้งคำถามต่อความถูกต้อง ซึ่งเด็กประเภทนี้ จะรังเกียจและตัดสินคนอื่นที่เชื่อไม่เหมือนตนว่าเป็นคนชั่ว แต่เด็กประเภทหลัง เมื่อเกิดความขัดแย้งกัน ก็จะนำไปสู่การถกเถียง หาเหตุผลเพื่อแก้ปัญหา 

เรามักถูกอบรมมาอีกว่า การสอนให้เชื่อแบบแรกง่ายกว่า ส่วนแบบหลังเหมาะกับเด็ก (รวมทั้งผู้ปกครองที่) ฉลาดเท่านั้น ... แม้พระสงฆ์เองที่สอนแต่คุณธรรม ไม่ยอมอธิบายธรรมะด้วยความถูกต้องเป็นเหตุเป็นผลก็เชื่อเช่นนี้ ซึ่งก็ไม่จริง การอธิบายเหตุ ผล ตามความจริงไม่ได้เป็นเรื่องยาก เพียงแต่พูดในสิ่งที่ตนรู้ ไม่โกหกแม้เจตนาดี และต้องหาความรู้ในสิ่งที่ตนยังไม่ทราบอยู่ตลอดเวลา เช่นการจะสอนลูกเรื่องบุญที่ถูกต้อง) หากเราสังเกตตัวเด็กเอง...เด็กจะมีความกระตือรือร้นในการอยากรู้เหตุผลอยู่ แล้ว แต่พัฒนาการนี้ก็ต้องหยุดลงเมื่ออยู่กับผู้ปกครองที่มีคุณธรรมมาก ไม่เคยสอนให้คิดแบบมีเหตุผลได้เลย อิอิอิ

สรุปได้ว่า...เมื่อเราแยกอธิบาย คุณธรรม ออกจาก ปัญญา แล้วจะเห็นว่า คุณธรรมมีโทษไม่น้อย แต่หลายคนก็ยังต้องการให้ตนและครอบครัวมีคุณธรรม ด้วยความเชื่อว่า การเป็นคนมีคุณธรรมทำให้ชีวิตตัวเองมีคุณค่า ซึ่งคนเหล่านี้มองข้าม ปัญญา ไป และไม่เคยเชื่อว่า ปัญญาจะสามารถทำให้คนดีได้ ปัญญาจะไม่รับรองสวรรค์เมื่อตายไป อิอิ 

เป็นความจริงที่ว่า การพัฒนาตามหลักพุทธ ตัวใดตัวหนึ่งก็จะเอื้อแก่การพัฒนาตัวอื่นๆด้วย เช่น “การมีปัญญามองเห็นความรู้สึกรักสุขเกลียดทุกข์ของคนอื่น” จะนำไปสู่ การสมาทานศีล (กายภาวนา) เพื่อจะไม่เบียดเบียนเขาด้วยกาย/วาจา และพัฒนาความรู้สึกเมตตา สงสาร (คุณธรรม หรือ จิตภาวนา) ให้เกิดขึ้นตามมาอีกได้ 

ส่วน การเชื่อว่า หากพัฒนาคุณธรรมเขาให้ดีได้ เช่นรักพ่อแม่ บูชาท่าน กราบเท้าท่านก่อนนอน ไม่เถียงและไม่ทำให้ท่านลำบากใจ ... สิ่งนี้จะนำไปสู่การรักษาศีลได้แน่ๆ แต่อาตมาไม่แน่ใจว่าจะนำไปสู่การมีปัญญาได้หรือไม่? หากเขาถูกปลูกฝังให้เชื่อโดยไม่ได้ให้ตั้งคำถาม .. เขาเป็นคนใจบุญ พร้อมจะถวายเงินหมดตัว ... ก็ไม่แน่ใจว่า คุณธรรมของเขาจะนำไปสู่การพัฒนาปัญญาได้อีกหรือไม่ ...เราอาจช่วยกันคิดเรื่องนี้ดูครับ

แต่ถ้าให้เลือก อาตมาอยากคุยกับคนที่ไม่มีคุณธรรมมากกว่าครับ เพราะเขาจะได้ไม่มีมานะเรื่องความเป็นคนดี ไม่มีมาตรฐานมาวัดเราว่า เราเป็นคนชั่วเพียงเพราะไม่ยอมล้างเท้าแม่ในเดือนสิงหาคม อิอิ และไม่ด่าเราว่าไร้สาระเพียงเพราะเราเชื่อไม่เหมือนเขา คนประเภทหลังอาจดูกล้าเถียง เหมือนไม่เคารพ แต่อย่างน้อย การถกกันบนหลักการความถูกต้อง...จะนำไปสู่จุดจบที่ยอมรับร่วมกันได้ คนประเภทนี้พร้อมจะเปลี่ยนตัวเองไปยืนข้างความถูกต้องเสมอ ปัญญาที่มีก็จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆเพราะได้ผ่านประสบการณ์ การเปิดใจ พูดคุยกับผู้รู้ต่างๆ ซึ่งต่างจากคนประเภทแรกที่ไม่ยอมเชื่อใครเลย (นอกจากคนที่มีคุณธรรมตรงกับตน) ต่อให้เหตุผลดี เพราะตนเชื่อว่า คุณธรรมต่างหากที่จะคุ้มครองโลกนี้ได้ ....
อยากเตือนพระที่เทศน์สอนไว้นิดหนึ่งว่า ทุกครั้งที่เราพูดธรรมะแบบเหตุผลให้คนยึดคุณธรรมฟัง เขาจะรับฟังด้วยความเคารพ เนื่องจากการอ่อนน้อมเป็นคุณธรรมสำคัญของเขา อิอิ ไม่จำเป็นจริงๆ จะไม่โต้แย้งเด็ดขาด ได้แต่กล่าวสาธุๆๆๆๆๆๆ แต่ที่จริง ชีวิตเขาจะไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงหรอก เขาพร้อมที่จะเชื่อของเดิม และประกอบพิธีกรรมทุกอย่างที่สามารถยืนยันความเป็นคนมีคุณธรรมของเขาได้ 

ฉะนั้น..ท่านอย่าดีใจว่า คำสอนของท่านสามารถเปลี่ยนคนได้ง่าย..อิอิ ไม่จริงหรอกครับ คนมีคุณธรรม เปลี่ยนยากกว่าพวกมีปัญญาเสียอีก อิอิอิ เพราะอันนี้แหละครับ ผมจึงบอกว่า การที่พุทธศาสนาจะก้าวไปข้างหน้าได้ เราต้องทิ้งคุณธรรมให้ได้เสียก่อน...

 จุด อ่อนหรือความยากของข้อความนี้คือ การแบ่งแยกปัญญาออกจากคุณธรรม จริงอยู่ว่า “คุณธรรมสามารถแยกออกจากปัญญาได้อย่างชัดเจนและมีตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมมาก มาย” เช่นการสอนให้เป็นคนดีโดยไม่ต้องสนใจเหตุผลหรือความถูกต้อง การอบรมให้เด็กเทิดทูนพ่อแม่ ครูอาจารย์ พระสงฆ์ หลักคำสอนทางศาสนา “โดยไม่ต้องตั้งคำถามอะไรเลยเป็นต้น”

แต่ การแยกปัญญาออกจากคุณธรรมทางใจเป็นเรื่องยากมาก ส่วนหนึ่งเนื่องจากปัญญาเป็นธรรมะขั้นสูงสุดอยู่แล้ว การเรียนวิทยาศาสตร์ และสามารถประดิษฐ์อุปกรณ์ใหม่ๆได้ ส่วนใหญ่เป็นเพียง “ความรู้” ด้านอาชีพ สาขาหนึ่งที่ถูกฝึก(ให้เชื่อ) มาเท่านั้น เขาเพียงแต่ปรับเปลี่ยนบางอย่างแล้วได้อุปกรณ์อันใหม่ ซึ่งเราจะสังเกตว่า “คนจบวิทยาศาสตร์ที่ยังงมงายมีเกลื่อนทั่วไป” เพราะศาสตร์ที่ใช้ได้มาจากการเรียนในสาขาวิชา ไม่ได้พัฒนาให้กลายเป็นวิถีชีวิตที่ก่อนจะทำหรือเชื่ออะไรต้องพิจารณาดูเหตุ ผล ให้พร้อมก่อนเสมอ (ดูตัวอย่างเรื่องนี้ได้ในหนังเรื่อง...”ตั้งวง”) แต่ปัญญาในพุทธศาสนาเป็นการมองปรากฎการณ์อย่างรอบคอบ ดำเนินชีวิตด้วยสติ ปัญญา (ไม่ยกความเป็นใหญ่ให้อารมณ์ ความชอบส่วนตัว) ฉะนั้น เมื่อมีปัญญามองเห็นความทุกข์ของตนเองและผู้อื่นแล้ว คุณธรรมความเมตตาสงสารเป็นต้นก็ตามมาโดยอัตโนมัติ (ตัวอย่างเช่นการเห็นเทวทูต 4 แล้วเสด็จออกบวช หรือ บรรลุธรรมมีปัญญาแล้วก็เกิดกรุณาอยากสั่งสอนสรรพสัตว์)

สิ่ง ที่อาตมาต้องการสื่อผ่านข้อความนี้คือ การอบรมคุณธรรมที่ไม่ใช้ปัญญาประกอบ(ซึ่งมีอยู่เกลื่อนกลาด) หวังเพียงให้คนเป็นเด็กดี เป็นพุทธศาสนิกชนที่ศรัทธาตั้งมั่น “มีเจตนาดีโดยไม่สนใจวิธีการ” อาจนำผลเสียมาสู่สังคมวงกว้างได้ นั่นคือ ผู้ถูกอบรมจะกลายเป็นคนดีที่ขาดปัญญา ทำทุกอย่างเพียงเพราะเชื่อว่าดี โดยไม่สนใจคนรอบข้าง ไม่สามารถรับฟังเหตุผลที่ต่างไปจากตนได้ และอาจเป็นอุปสรรคในการพัฒนาปัญญาขั้นสูงขึ้นไป

แต่ หากใช้วิธีอบรมปัญญา...”โดยไม่ต้องสนใจคุณธรรมความดี” การสอนที่มีเหตุผล ชี้ให้ดูตามความเป็นจริง ฝึกให้เขาคิดตามเหตุปัจจัย จะทำให้เขาใช้ชีวิตด้วยความรอบคอบ เปรียบเทียบตนเองกับผู้อื่น เอาใจเขามาใส่ใจตนตามความเป็นจริง ไม่หลงเชื่ออะไรง่าย มีอุปนิสัยรักความถูกต้อง คนที่มีปัญญาเช่นนี้ จะสามารถพัฒนาคุณธรรมทางใจเช่นความสงสาร ความกตัญญูเป็นต้นขึ้นมาได้เองโดยอัตโนมัติ ....... นี่เป็นข้อเสนอนะครับ ซึ่งเราอาจต้องเอาไปทบทวนดูอีกทีหนึ่ง หรือ แสดงความเห็นแย้งได้ครับ

1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ4 เมษายน 2565 เวลา 21:56

    The King Casino: The New King & The World of Gaming
    The King Casino jancasino.com is the new place where the real money wooricasinos.info gambling is legal in Florida septcasino.com and Pennsylvania. We love the https://jancasino.com/review/merit-casino/ new casino. We've got septcasino some great

    ตอบลบ