เป็นเรื่องของคนขับรถไฟ ที่ถึงทางแยกแล้วต้องเลือกว่าจะไปซ้ายหรือขวา โดยที่ทางซ้ายเป็นทางที่เลิกใช้ไปแล้ว มีหญ้าปกคลุม ชายคนหนึ่งจึงมานอนหลับอยู่บนรางนั้น ส่วนทางขวาเป็นทางที่ใช้แล่นตามปกติ บังเอิญวันนั้นมีเด็กสองคนมานอนหลับอยู่บนราง คนขับจึงต้องเลือกว่าจะเหยียบ 1 คนหรือ 2 คน
ปกติเรื่องนี้นำเสนอเพื่อให้นักศึกษาได้นำไปคิดและเลือกด้วยตัวเอง ช่วงหลัง พบว่า การนำเสนอเรื่องนี้มีเป้าหมายเพื่อชวนเชื่อหรือเลือกให้ไปแล้ว นั่นคือ บอกไปว่า เราควรเลือกที่จะฆ่าคนเพียง 1 คน เพื่อรักษาชีวิตของคน 2 คนไว้ ต่อให้เด็ก 2 คนนั้นผิด มานอนบนรางที่รถต้องวิ่งก็ตาม “ฉะนั้นในชีวิตจริง เราไม่จำเป็นต้องรักษากฎระเบียบเป็นหลัก สิ่งที่เราต้องคำนึงถึงคือ ประโยชน์ที่จะตกแก่คนส่วนใหญ่ต่างหาก”
การอธิบายตามแนวคิดนี้เรียกว่า อรรถประโยชน์นิยม (Utilitarianism)
มีคำอธิบายในพจนานุกรมดังนี้ครับ....doctrine that the useful is the good;
especially as elaborated by Jeremy Bentham and James Mill; the aim was
said to be the greatest happiness for the greatest number
กระผมไม่กล้าถกเรื่องแนวคิดนี้ เนื่องจากเกรงว่าตัวเองอาจไม่เข้าใจทฤษฎีของเยเรมีได้เพียงพอ อย่างไรก็ตาม แนวคิดนี้ถูกปฏิเสธโดยนักปรัชญาอีกหลายคน เช่น จอห์น โรว์ (Rawls) เป็นต้น ด้วยเห็นว่า แนวคิดนี้มีความบกพร่องและอาจถูกใช้เป็นเครื่องมือของกลุ่มอำนาจต่างๆได้ เมื่อถกประเด็นทฤษฎีไม่ได้ จึงอยากนำตัวอย่างนี้มาตัดสินตามหลักบางอย่างของพุทธศาสนาครับ
1. ระหว่างการที่เราปล่อยให้รถไฟไปตามทางของมันซึ่งวิ่งอยู่เป็นประจำ(เป็นผล ให้ต้องเหยียบคน 2 คน) กับ การเลือกเลี้ยวซ้ายเพื่อเหยียบคนเพียงคนเดียว อย่างใดจะเรียกว่าเป็นเจตนาและนำไปสู่การทำปาณาติบาต?
2. การวัดคุณค่าว่า คน 2 คนมีค่ามากกว่าคนคนเดียว .... เราใช้อะไรเป็นเกณฑ์? ทั้งๆที่ คน 2 คนทำผิด (ด้วยการมานอนบนราง ทั้งที่รู้ว่ารางนั้นจะมีรถไฟวิ่งมา) และ คน 1 คนทำถูก
การนำเสนอเพื่อให้เชื่อว่า เราต้องเลือกรักษาผลประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ (ซึ่งอาจสอดคล้องกับปรากฎการณ์ทางการเมืองไทยในปัจจุบัน) จึงเป็นการนำเสนอเหตุผลเพียงด้านเดียว พอๆกับที่กระผมนำเสนอเหตุผลเพียงด้านเดียวเพื่อแย้งแนวคิดนี้ อย่างไรก็ตาม การอ้างเพื่อผลประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ ทำให้เราต้องตัดประโยชน์ของคนส่วนน้อยไปทั้งๆ ที่เขามีความชอบธรรม ซึ่งการปกครองแบบนี้สุดท้ายแล้วไม่ได้เป็นประชาธิปไตยภายใต้กฎหมาย แต่เป็นเผด็จการที่ครองอำนาจด้วยการอ้างคุณธรรมความดีและการทำเพื่อส่วนรวม ในทางตรงกันข้าม การทำตามกฎระเบียบซึ่งต่อให้ดูโหดร้าย (กับคนผิด) แต่อย่างน้อยสามารถรักษาสิทธิของคนที่ชอบธรรมได้ สังคมจะมีบรรทัดฐานในการตัดสินผิดถูกคน อย่างน้อย คนที่รักษากฎระเบียบจะถูกคุ้มครองโดยรัฐ ซึ่งหากเราเห็นว่ากฏระเบียบไม่ชอบธรรม สิ่งที่ต้องแก้ก็คือกฎระเบียบนั้น เมื่อแก้แล้วก็ปฏิบัติตามกฎนั้นต่อไป ในทางตรงกันข้าม การอ้างอิงเอาประโยชน์สุขของผู้คนส่วนใหญ่เป็นหลัก .... จะมีคำถามตามมามากมายว่า ใครคือคนส่วนใหญ่? สิ่งนั้นเป็นประโยชน์/สุขที่ชอบธรรมหรือไม่? รัฐจะคุ้มครองประชาชนที่เป็นคนดีซึ่งอาจเป็นคนส่วนน้อยได้หรือไม่? ฯลฯ
กระผมไม่กล้าถกเรื่องแนวคิดนี้ เนื่องจากเกรงว่าตัวเองอาจไม่เข้าใจทฤษฎีของเยเรมีได้เพียงพอ อย่างไรก็ตาม แนวคิดนี้ถูกปฏิเสธโดยนักปรัชญาอีกหลายคน เช่น จอห์น โรว์ (Rawls) เป็นต้น ด้วยเห็นว่า แนวคิดนี้มีความบกพร่องและอาจถูกใช้เป็นเครื่องมือของกลุ่มอำนาจต่างๆได้ เมื่อถกประเด็นทฤษฎีไม่ได้ จึงอยากนำตัวอย่างนี้มาตัดสินตามหลักบางอย่างของพุทธศาสนาครับ
1. ระหว่างการที่เราปล่อยให้รถไฟไปตามทางของมันซึ่งวิ่งอยู่เป็นประจำ(เป็นผล ให้ต้องเหยียบคน 2 คน) กับ การเลือกเลี้ยวซ้ายเพื่อเหยียบคนเพียงคนเดียว อย่างใดจะเรียกว่าเป็นเจตนาและนำไปสู่การทำปาณาติบาต?
2. การวัดคุณค่าว่า คน 2 คนมีค่ามากกว่าคนคนเดียว .... เราใช้อะไรเป็นเกณฑ์? ทั้งๆที่ คน 2 คนทำผิด (ด้วยการมานอนบนราง ทั้งที่รู้ว่ารางนั้นจะมีรถไฟวิ่งมา) และ คน 1 คนทำถูก
การนำเสนอเพื่อให้เชื่อว่า เราต้องเลือกรักษาผลประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ (ซึ่งอาจสอดคล้องกับปรากฎการณ์ทางการเมืองไทยในปัจจุบัน) จึงเป็นการนำเสนอเหตุผลเพียงด้านเดียว พอๆกับที่กระผมนำเสนอเหตุผลเพียงด้านเดียวเพื่อแย้งแนวคิดนี้ อย่างไรก็ตาม การอ้างเพื่อผลประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ ทำให้เราต้องตัดประโยชน์ของคนส่วนน้อยไปทั้งๆ ที่เขามีความชอบธรรม ซึ่งการปกครองแบบนี้สุดท้ายแล้วไม่ได้เป็นประชาธิปไตยภายใต้กฎหมาย แต่เป็นเผด็จการที่ครองอำนาจด้วยการอ้างคุณธรรมความดีและการทำเพื่อส่วนรวม ในทางตรงกันข้าม การทำตามกฎระเบียบซึ่งต่อให้ดูโหดร้าย (กับคนผิด) แต่อย่างน้อยสามารถรักษาสิทธิของคนที่ชอบธรรมได้ สังคมจะมีบรรทัดฐานในการตัดสินผิดถูกคน อย่างน้อย คนที่รักษากฎระเบียบจะถูกคุ้มครองโดยรัฐ ซึ่งหากเราเห็นว่ากฏระเบียบไม่ชอบธรรม สิ่งที่ต้องแก้ก็คือกฎระเบียบนั้น เมื่อแก้แล้วก็ปฏิบัติตามกฎนั้นต่อไป ในทางตรงกันข้าม การอ้างอิงเอาประโยชน์สุขของผู้คนส่วนใหญ่เป็นหลัก .... จะมีคำถามตามมามากมายว่า ใครคือคนส่วนใหญ่? สิ่งนั้นเป็นประโยชน์/สุขที่ชอบธรรมหรือไม่? รัฐจะคุ้มครองประชาชนที่เป็นคนดีซึ่งอาจเป็นคนส่วนน้อยได้หรือไม่? ฯลฯ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น