น่าตั้งข้อสังเกตว่า “ไฉนคนปัจจุบันยังเชื่อเรื่องเหล่านี้อยู่? อาจารย์บางท่านอธิบายให้เห็นภูมิปัญญาคนไทยสมัยก่อน เช่นการปลูกต้นมะลิข้างบ้านว่าจะเป็นมงคล มงคลของเขาก็ไม่งมงายเสียทีเดียว ยังอธิบายเพิ่มได้ว่า เพราะเมื่อดอกมะลิบาน ลมก็ช่วยพัดเอาความหอมเข้าในบ้านได้ สร้างความสดชื่นให้แก่คนในบ้าน เป็นผลให้คนมีความสบายใจ ผ่อนคลาย ทำการงานต่อไปได้ (จนชีวิตเจริญรุ่งเรือง....คือเป็นปัจจัยหนึ่งที่สนับสนุนการใช้ชีวิตให้มีความสุข)
มงคล แปลง่ายๆว่า “สิ่งที่จะทำให้ชีวิตเจริญรุ่งเรือง” พุทธศาสนาเน้นว่า
มงคลจะเกิดได้ก็ต่อเมื่อต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองไปในทางที่ดี
มิใช่เกิดจากความเชื่อแล้วเที่ยวบูชานั่นนี่ให้มาดลบันดาล
(ดูข้อความในมงคลสูตรทั้ง 38 ประการเป็นตัวยืนยัน)
พุทธศาสนาจึงสอนว่า การไม่คบคนพาล การเลือกคบแต่บัณฑิต การปฏิบัติธรรม การดูแลพ่อแม่ ญาติมิตร การศึกษาเล่าเรียนมีความรู้ ความขยันในการงาน การเว้นจากสุรายาเมา ความไม่ประมาท เป็นต้น เป็นมงคล .... ไม่ใช่การไปกราบพระที่วัดโน้น ลอดโบสถ์ที่วัดนี้ สะเดาะเคราะห์ที่วัดนั้น
สรุปคือ...การจะทราบว่าสิ่งนั้นเป็นมงคลหรือไม่ต้องดูว่า เราทำไปแล้ว มันทำให้ชีวิตเราดีขึ้นทั้งทางศีล ทางจิตใจ และมีปัญญารู้เหตุรู้ผลเพิ่มขึ้นหรือไม่....ถ้าไม่ ก็พึงทราบว่า นั่นไม่ใช่มงคลในพุทธศาสนาครับ
จึงกลับมาตั้งคำถามว่า การนำดอกชบา ดอกเยมีร่า ดอกกุหลาบเป็นต้นไปบูชาพระ...จะทำให้ชีวิตเป็นอัปปมงคลได้อย่างไร?....ถ้า พิจารณาดูให้ลึก การนำดอกไม้ไปบูชาพระ ทำให้ชีวิตเราดีขึ้นอย่างไร ลองคิดแบบไม่ต้องใช้ศรัทธาดูสิครับ ? อิอิอิ
ความจริงหลักสูตรนักธรรมและธรรมศึกษาควรออกแบบให้คนอธิบายเรื่องง่ายๆเหล่า นี้บ้างนะครับ ไม่ต้องไปถามว่า โพชฌงค์ 7 คืออะไร มีอะไรบ้าง? เพราะมันยากเกินไป ผู้สอบก็จำไปสอบ เปลี่ยนเป็นคำถามพื้นๆแทนว่า.... มงคลในพุทธศาสนาคืออะไร? ต่างจากความเชื่อในลัทธิอื่นอย่างไร? เป็นต้น หากเป็นเช่นนี้ผู้เรียนจะสามารถนำมาใช้ได้ในชีวิตจริงครับ ไม่ตกเป็นเหยื่อความเชื่อที่คนโน้นว่าอย่าง คนนี้ว่าอีกอย่าง สุดท้ายกลัวอกุศลกรรมจะเกิดหากตนไม่ยอมเชื่อ (วิจิกิจฉา) เลยไม่กล้าตั้งคำถาม ขอใช้ชีวิตแบบผู้มีเมตตาและอุเบกขาไปวันๆ แล้วกัน และหากเปลี่ยนข้อสอบมาเน้นความเข้าใจพุทธศาสนาแบบมีเหตุมีผลได้จริง เชื่อว่าบ้านเราจะไม่มีพระ(รวมทั้งพวกที่สึกออกไปแล้ว) ใช้ความไว้วางใจที่ผู้คนมีให้ ช่วยกันปลูกฝังอะไรที่งมงายแก่ลูกหลานได้อีกคับ อิอิอิ
พุทธศาสนาจึงสอนว่า การไม่คบคนพาล การเลือกคบแต่บัณฑิต การปฏิบัติธรรม การดูแลพ่อแม่ ญาติมิตร การศึกษาเล่าเรียนมีความรู้ ความขยันในการงาน การเว้นจากสุรายาเมา ความไม่ประมาท เป็นต้น เป็นมงคล .... ไม่ใช่การไปกราบพระที่วัดโน้น ลอดโบสถ์ที่วัดนี้ สะเดาะเคราะห์ที่วัดนั้น
สรุปคือ...การจะทราบว่าสิ่งนั้นเป็นมงคลหรือไม่ต้องดูว่า เราทำไปแล้ว มันทำให้ชีวิตเราดีขึ้นทั้งทางศีล ทางจิตใจ และมีปัญญารู้เหตุรู้ผลเพิ่มขึ้นหรือไม่....ถ้าไม่ ก็พึงทราบว่า นั่นไม่ใช่มงคลในพุทธศาสนาครับ
จึงกลับมาตั้งคำถามว่า การนำดอกชบา ดอกเยมีร่า ดอกกุหลาบเป็นต้นไปบูชาพระ...จะทำให้ชีวิตเป็นอัปปมงคลได้อย่างไร?....ถ้า พิจารณาดูให้ลึก การนำดอกไม้ไปบูชาพระ ทำให้ชีวิตเราดีขึ้นอย่างไร ลองคิดแบบไม่ต้องใช้ศรัทธาดูสิครับ ? อิอิอิ
ความจริงหลักสูตรนักธรรมและธรรมศึกษาควรออกแบบให้คนอธิบายเรื่องง่ายๆเหล่า นี้บ้างนะครับ ไม่ต้องไปถามว่า โพชฌงค์ 7 คืออะไร มีอะไรบ้าง? เพราะมันยากเกินไป ผู้สอบก็จำไปสอบ เปลี่ยนเป็นคำถามพื้นๆแทนว่า.... มงคลในพุทธศาสนาคืออะไร? ต่างจากความเชื่อในลัทธิอื่นอย่างไร? เป็นต้น หากเป็นเช่นนี้ผู้เรียนจะสามารถนำมาใช้ได้ในชีวิตจริงครับ ไม่ตกเป็นเหยื่อความเชื่อที่คนโน้นว่าอย่าง คนนี้ว่าอีกอย่าง สุดท้ายกลัวอกุศลกรรมจะเกิดหากตนไม่ยอมเชื่อ (วิจิกิจฉา) เลยไม่กล้าตั้งคำถาม ขอใช้ชีวิตแบบผู้มีเมตตาและอุเบกขาไปวันๆ แล้วกัน และหากเปลี่ยนข้อสอบมาเน้นความเข้าใจพุทธศาสนาแบบมีเหตุมีผลได้จริง เชื่อว่าบ้านเราจะไม่มีพระ(รวมทั้งพวกที่สึกออกไปแล้ว) ใช้ความไว้วางใจที่ผู้คนมีให้ ช่วยกันปลูกฝังอะไรที่งมงายแก่ลูกหลานได้อีกคับ อิอิอิ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น