ภริยาสูตร อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต.........ว่าด้วยภรรยา
ลองอ่านพระสูตรนี้แบบละเอียดและหาประเด็นตั้งคำถามดูนะครับ จะมีข้อถกเถียงในตอนท้ายของข้อความ
๖๐. ครั้งนั้นแล ในเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวรเสด็จเข้าไปยังนิเวศน์ของอนาถ บิณฑิกคหบดี แล้วประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้แล้ว สมัยนั้นแล ในนิเวศน์ของอนาถบิณฑิกคหบดี มีเหล่ามนุษย์ส่งเสียงดังอื้ออึง อนาถบิณฑิกคหบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามอนาถบิณฑิกคหบดีดังนี้ว่า
“คหบดี เหตุไรหนอ เหล่ามนุษย์ในนิเวศน์ของท่านจึงส่งเสียงดังอื้ออึง เหมือนชาวประมงแย่งปลากัน” “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นางสุชาดานี้ ข้าพระองค์พามาจากตระกูลมั่งคั่ง เป็นสะใภ้ในเรือน นางไม่เชื่อฟังแม่ผัว ไม่เชื่อฟังพ่อผัว ไม่เชื่อฟังสามี แม้แต่พระผู้มีพระภาค นางก็ไม่สักการะ ไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่บูชา”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกนางสุชาดาหญิงสะใภ้ในเรือนมาตรัสว่า “มานี่ สุชาดา” นางสุชาดาหญิงสะใภ้ในเรือนทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสกับนางสุชาดาหญิงสะใภ้ในเรือนดังนี้ว่าสุชาดา ภรรยา ๗ จำพวกนี้ ภรรยา ๗ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. ภรรยาดุจเพชฌฆาต
๒. ภรรยาดุจนางโจร
๓. ภรรยาดุจนายหญิง
๔. ภรรยาดุจมารดา
๕. ภรรยาดุจพี่สาวน้องสาว
๖. ภรรยาดุจเพื่อน
๗. ภรรยาดุจทาสี
บรรดาภรรยา ๗ จำพวกนั้น เธอเป็นภรรยาจำพวกไหน นางสุชาดากราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันไม่เข้าใจความหมายแห่งพระภาษิตที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้โดยย่อนี้ อย่างพิสดาร ขอประทานวโรกาสขอพระผู้มีพระภาคโปรดทรงแสดงธรรมแก่หม่อมฉัน โดยวิธีที่หม่อมฉันจะเข้าใจความหมายแห่งพระภาษิตที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ โดยย่อนี้ได้อย่างพิสดาร”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สุชาดา ถ้าเช่นนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว” นางสุชาดาหญิงสะใภ้ในเรือนทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า
1. ภรรยาใดคิดประทุษร้าย ไม่เกื้อกูลอนุเคราะห์ ยินดีต่อชายเหล่าอื่น ดูหมิ่นสามี เป็นหญิงที่เขาซื้อมาด้วยทรัพย์ พยายามฆ่าสามี ภรรยาเช่นนี้ เรียกว่า ภรรยาดุจเพชฌฆาต
2. ภรรยาใดมุ่งจะยักยอกทรัพย์แม้มีจำนวนน้อย ที่สามีประกอบศิลปกรรม พาณิชยกรรมและกสิกรรมได้มาภรรยาเช่นนี้ เรียกว่า ภรรยาดุจนางโจร
3. ภรรยาใดไม่สนใจการงานเกียจคร้าน กินจุ หยาบคาย ดุร้าย มักพูดคำชั่วหยาบ ข่มขี่สามีผู้ขยันหมั่นเพียร ภรรยาเช่นนี้ เรียกว่า ภรรยาดุจนายหญิง
4. ภรรยาใดเป็นผู้เกื้อกูลอนุเคราะห์ทุกเมื่อ คอยทะนุถนอมสามี เหมือนมารดาคอยทะนุถนอมบุตรรักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้ไว้ ภรรยาเช่นนี้ เรียกว่า ภรรยาดุจมารดา
5. ภรรยาใดเป็นเหมือนพี่สาวน้องสาว มีความเคารพในสามีของตน มีใจละอายต่อบาป ประพฤติคล้อยตามอำนาจสามี ภรรยาเช่นนี้ เรียกว่า ภรรยาดุจพี่สาวน้องสาว
6. ภรรยาใดเห็นสามีแล้วชื่นชมยินดี เหมือนเพื่อนเห็นเพื่อนผู้จากไปนานแล้วกลับมา เป็นหญิงมีตระกูล มีศีล มีวัตรปฏิบัติต่อสามี ภรรยาเช่นนี้ เรียกว่า ภรรยาดุจเพื่อน
7. ภรรยาใดถูกสามีขู่จะฆ่าจะเฆี่ยนตี ก็ไม่โกรธ สงบเสงี่ยม ไม่คิดขุ่นเคืองสามี อดทนได้ ไม่โกรธ ประพฤติคล้อยตามอำนาจสามี ภรรยาเช่นนี้ เรียกว่า ภรรยาดุจทาสี (ทาส)
ภรรยาใดในโลกนี้ ที่เรียกว่า ภรรยาดุจเพชฌฆาต ภรรยาดุจนางโจร และภรรยาดุจนายหญิง ภรรยานั้น เป็นผู้ทุศีล หยาบคาย ไม่เอื้อเฟื้อ เมื่อตายไป ย่อมไปสู่นรก ส่วนภรรยาใดในโลกนี้ ที่เรียกว่า ภรรยาดุจมารดา ภรรยาดุจพี่สาวน้องสาว ภรรยาดุจเพื่อน ภรรยาดุจทาสี ภรรยานั้น เพราะเป็นผู้ตั้งอยู่ในศีล ยินดีและสำรวมมานาน เมื่อตายไป ย่อมไปสู่สุคติโลกสวรรค์
สุชาดา ภรรยา ๗ จำพวกนี้แล เธอเป็นภรรยาจำพวกไหน นางสุชาดากราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ขอพระผู้มีพระภาคโปรดทรงจำหม่อมฉันไว้ว่า เป็นภรรยาดุจทาสี” ภริยาสูตรที่ ๑๐ จบ
ประเด็นที่น่าตั้งข้อสังเกตมีดังนี้ครับ
1. นางไม่เชื่อฟังแม่ผัว ไม่เชื่อฟังพ่อผัว ไม่เชื่อฟังสามี แม้แต่พระผู้มีพระภาค นางก็ไม่สักการะ ไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่บูชา” แต่เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสเรียกมา นางก็ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร...เราจะอธิบายปรากฎการณ์นี้อย่างไรได้บ้าง 1. คำพูดนี้ขัดแย้งกันเอง 2.นางแสแสร้งทำความเคารพเพราะเกรงใจพระพุทธเจ้าในฐานะแขกผู้มาเยือน...หาก เป็นเช่นนี้ อย่างน้อยก็สะท้อนให้เห็นว่า พระพุทธเจ้าก็ไม่ได้ต่างจากคนทั่วไป ที่มีทั้งคนชอบและไม่ชอบ ซึ่งต่างกับการถูกนำเสนอให้ชาวพุทธเชื่อว่า ท่านศักดิ์สิทธิ์ ไปไหนมีแต่คนเข้ามาถวายความเคารพด้วยจิตศรัทธา
2. ความเชื่อเรื่องนรกสวรรค์...ปัญหาสำหรับคนที่ปฏิเสธ และยกนรกสวรรค์ให้มาอยู่ในใจซึ่งเป็นปัจจุบัน ........ จากพระดำรัสที่ว่า ภรรยาเช่นนี้ เป็นผู้ทุศีล หยาบคาย ไม่เอื้อเฟื้อ “เมื่อตายไป” ย่อมไปสู่นรก....หรือ....ย่อมไปสู่สุคติโลกสวรรค์ ตกลงนรก สวรรค์ ในภพหน้ามีป่าวคับ? อิอิ
3.ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ขอพระผู้มีพระภาคโปรดทรงจำหม่อมฉันไว้ว่า เป็นภรรยาดุจทาสี” คำถามคือ คนที่นิสัยไม่ดีเช่นนั้น เมื่อได้ฟังธรรมะแค่นี้ สามารถเปลี่ยนตัวเองเป็นคนละคนได้เลยหรือ...หรือจะเป็นการเสแสร้งอีกเช่น เคย? เนื่องจาก หากอยากเป็นคนดีจริง ก็สามารถเลือกภรรยาประเภทอื่นๆ ซึ่งดีกว่านี้ มีสิทธิ ศักดิ์ศรี มีความเป็นมนุษย์มากกว่านี้ได้ .... ในการศึกษาศาสนา จะมีคำถามตามมาตลอดว่า ผู้นั้นสามารถเปลี่ยนตนเองได้หรือไม่หลังจากฟังธรรมะไปแล้ว ส่วนใหญ่ชาวพุทธจะเชื่อว่าได้.....เนื่องจากพระพุทธเจ้าจะใช้พระญาณตรวจสอบ ก่อนที่จะเทศน์ให้ใครฟัง เพื่อจะได้เลือกสรรธรรมที่ตรงกับภาวะนั้น ซึ่งส่วนใหญ่จะได้ผล และชาวพุทธจะไม่ยอมเชื่อว่า พระพุทธเจ้าตรัสไปแล้ว ผู้ฟังคนนั้นไม่ได้นำไปใช้ เพราะเท่ากับบอกว่า การเทศน์ครั้งนั้นล้มเหลว.... แต่ฝรั่งหลายคนจะไม่ยอมเชื่อเรื่องนี้ เนื่องจาก พระสูตรเองก็จบไว้เท่านี้ “ขอพระผู้มีพระภาคโปรดทรงจำหม่อมฉันไว้ว่า เป็นภรรยาดุจทาสี” ซึ่งเป็นเพียงคำพูดเชิงถวายสัตย์ แต่ไม่ได้ให้ภาพต่อไปว่า ต่อมานางมีพฤติกรรมอย่างไร ฉะนั้น การเชื่อว่า นางกลับเป็นคนดีได้จริง จึงเป็นความคาดหวังของผู้อ่านเอง ซึ่งนอกเหนือการนำเสนอของพระสูตร
4. หากมองในทรรศนะของ “สตรีนิยม” อาจกล่าวได้ว่า พุทธศาสนากดสตรีให้ต่ำลง สอนให้ผู้หญิงเป็นทาสผู้ชาย ปลูกฝังอุดมคติของหญิงที่ดีที่ต้องรับใช้สามีเป็นต้น ประเด็นนี้แก้ตัวได้ว่า ไม่มีส่วนไหนที่พระพุทธเจ้าสอนให้ผู้หญิงต้องตกต่ำกว่าผู้ชาย การพูดถึงภรรยาทั้ง 7 ประเภทนั้น ไม่ได้ต้องการสอนให้คนต้องเป็นอย่างที่พระองค์ต้องการ แต่ได้ยกเอาประเภทของผู้หญิงที่มีอยู่จริงในสังคมมาอธิบาย ที่สำคัญการที่นางสุชาดาเลือกที่จะเป็น “ภรรยาดุงทาส” ก็เป็นเจตจำนงค์ของนางเอง ซึ่งหากนางเลือกประเภทอื่น เช่นภรรยาดุจพี่น้องสาว ดุจมารดา เป็นต้นก็ไม่มีใครว่าอะไร
ต้องเข้าใจว่า พุทธศาสนาไม่ได้เกิดมาภายใต้อุดมการสตรีนิยม เพื่อเรียกร้องสิทธิสตรี เพราะพื้นฐานศาสนาส่วนใหญ่ (ในแง่โลกิยะ) เพียงต้องการให้สังคมมีความสงบสุข ให้บริบททางสังคมเอื้อแก้การพัฒนาตัวเองในขั้นโลกุตตระต่อไปได้อีก ที่สำคัญ....การแก้ตัวว่า พระพุทธเจ้าไม่ได้กล่าวว่า ภรรยาดุจทาสดีที่สุด เพราะพระองค์ไม่ได้ตรัสรับรองอะไรเลย เมื่อนางเลือกแล้วก็แล้วไป หากเห็นดีเห็นงามด้วยก็ควรตรัสว่า “สาธุ ดีแล้วสุชาดา เธอช่างเป็นสาวกที่ดีของเราจริงๆ” ซึ่งหากตรัสเช่นนี้ ก็จะสื่อความว่า พุทธศาสนากดขี่ผู้หญิงให้ต่ำลงจริงๆ
5. พระสูตรนี้ สะท้อนให้เห็นถึงหลักการของพุทธศาสนาได้ชัดเจน คือ เพียงเสนอตัวเลือก พูดให้เห็นข้อดี ข้อเสีย ส่วนผู้ฟังจะเอาอย่างไร ก็ปล่อยให้เป็นเสรีภาพของเขาเอง .... เป็นลักษณะของศาสนาแบบ Doctrine ซึ่งตรงข้ามกับ Dogma ที่เน้นให้เชื่อและต้องเอาคำที่พูดไปปฏิบัติตาม หากฝ่าฝืนถือเป็นความผิดบาป การทำความเข้าใจประเด็นนี้ก็สำคัญมาก จะนำไปสู่ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับศีล 5 เป็นต้น ว่าไม่ได้เป็นบทบัญญัติที่สั่งบังคับให้ใครทำ แต่เป็นการเสนอข้อเด่น ข้อด้อย แล้วให้ผู้นั้นเลือกสมาทานเอาเอง (ใครไม่สมาทานก็เรื่องของเขา) “ข้าพเจ้าขอสมาทานเอาสิกขาบท..เพื่อฝึกฝนตนเอง...คือการงดเว้นจากการฆ่า สัตว์ฯลฯ” ไม่ได้แปลว่า “ศีลข้อที่ 1 ห้ามฆ่าสัตว์” (เพราะการสั่งให้ทำเป็นลักษณะแบบ Dogma) ซึ่งไม่ใช่รูปแบบของพุทธศาสนา
เรื่องนี้ยังตั้งคำถามถึงความเชื่อของสายพุทธวจนะได้อีกว่า...แท้จริงแล้ว พุทธศาสนาสอนให้เชื่อและต้องเอาไปปฏิบัติตามนั้น หรือ สอนให้รู้จักคิด แยกแยะ แล้วเลือกสิ่งที่เหมาะกับจริตตนไปปฏิบัติตามความเหมาะสม ?
ลองอ่านพระสูตรนี้แบบละเอียดและหาประเด็นตั้งคำถามดูนะครับ จะมีข้อถกเถียงในตอนท้ายของข้อความ
๖๐. ครั้งนั้นแล ในเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวรเสด็จเข้าไปยังนิเวศน์ของอนาถ บิณฑิกคหบดี แล้วประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้แล้ว สมัยนั้นแล ในนิเวศน์ของอนาถบิณฑิกคหบดี มีเหล่ามนุษย์ส่งเสียงดังอื้ออึง อนาถบิณฑิกคหบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามอนาถบิณฑิกคหบดีดังนี้ว่า
“คหบดี เหตุไรหนอ เหล่ามนุษย์ในนิเวศน์ของท่านจึงส่งเสียงดังอื้ออึง เหมือนชาวประมงแย่งปลากัน” “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นางสุชาดานี้ ข้าพระองค์พามาจากตระกูลมั่งคั่ง เป็นสะใภ้ในเรือน นางไม่เชื่อฟังแม่ผัว ไม่เชื่อฟังพ่อผัว ไม่เชื่อฟังสามี แม้แต่พระผู้มีพระภาค นางก็ไม่สักการะ ไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่บูชา”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกนางสุชาดาหญิงสะใภ้ในเรือนมาตรัสว่า “มานี่ สุชาดา” นางสุชาดาหญิงสะใภ้ในเรือนทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสกับนางสุชาดาหญิงสะใภ้ในเรือนดังนี้ว่าสุชาดา ภรรยา ๗ จำพวกนี้ ภรรยา ๗ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. ภรรยาดุจเพชฌฆาต
๒. ภรรยาดุจนางโจร
๓. ภรรยาดุจนายหญิง
๔. ภรรยาดุจมารดา
๕. ภรรยาดุจพี่สาวน้องสาว
๖. ภรรยาดุจเพื่อน
๗. ภรรยาดุจทาสี
บรรดาภรรยา ๗ จำพวกนั้น เธอเป็นภรรยาจำพวกไหน นางสุชาดากราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันไม่เข้าใจความหมายแห่งพระภาษิตที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้โดยย่อนี้ อย่างพิสดาร ขอประทานวโรกาสขอพระผู้มีพระภาคโปรดทรงแสดงธรรมแก่หม่อมฉัน โดยวิธีที่หม่อมฉันจะเข้าใจความหมายแห่งพระภาษิตที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ โดยย่อนี้ได้อย่างพิสดาร”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สุชาดา ถ้าเช่นนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว” นางสุชาดาหญิงสะใภ้ในเรือนทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า
1. ภรรยาใดคิดประทุษร้าย ไม่เกื้อกูลอนุเคราะห์ ยินดีต่อชายเหล่าอื่น ดูหมิ่นสามี เป็นหญิงที่เขาซื้อมาด้วยทรัพย์ พยายามฆ่าสามี ภรรยาเช่นนี้ เรียกว่า ภรรยาดุจเพชฌฆาต
2. ภรรยาใดมุ่งจะยักยอกทรัพย์แม้มีจำนวนน้อย ที่สามีประกอบศิลปกรรม พาณิชยกรรมและกสิกรรมได้มาภรรยาเช่นนี้ เรียกว่า ภรรยาดุจนางโจร
3. ภรรยาใดไม่สนใจการงานเกียจคร้าน กินจุ หยาบคาย ดุร้าย มักพูดคำชั่วหยาบ ข่มขี่สามีผู้ขยันหมั่นเพียร ภรรยาเช่นนี้ เรียกว่า ภรรยาดุจนายหญิง
4. ภรรยาใดเป็นผู้เกื้อกูลอนุเคราะห์ทุกเมื่อ คอยทะนุถนอมสามี เหมือนมารดาคอยทะนุถนอมบุตรรักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้ไว้ ภรรยาเช่นนี้ เรียกว่า ภรรยาดุจมารดา
5. ภรรยาใดเป็นเหมือนพี่สาวน้องสาว มีความเคารพในสามีของตน มีใจละอายต่อบาป ประพฤติคล้อยตามอำนาจสามี ภรรยาเช่นนี้ เรียกว่า ภรรยาดุจพี่สาวน้องสาว
6. ภรรยาใดเห็นสามีแล้วชื่นชมยินดี เหมือนเพื่อนเห็นเพื่อนผู้จากไปนานแล้วกลับมา เป็นหญิงมีตระกูล มีศีล มีวัตรปฏิบัติต่อสามี ภรรยาเช่นนี้ เรียกว่า ภรรยาดุจเพื่อน
7. ภรรยาใดถูกสามีขู่จะฆ่าจะเฆี่ยนตี ก็ไม่โกรธ สงบเสงี่ยม ไม่คิดขุ่นเคืองสามี อดทนได้ ไม่โกรธ ประพฤติคล้อยตามอำนาจสามี ภรรยาเช่นนี้ เรียกว่า ภรรยาดุจทาสี (ทาส)
ภรรยาใดในโลกนี้ ที่เรียกว่า ภรรยาดุจเพชฌฆาต ภรรยาดุจนางโจร และภรรยาดุจนายหญิง ภรรยานั้น เป็นผู้ทุศีล หยาบคาย ไม่เอื้อเฟื้อ เมื่อตายไป ย่อมไปสู่นรก ส่วนภรรยาใดในโลกนี้ ที่เรียกว่า ภรรยาดุจมารดา ภรรยาดุจพี่สาวน้องสาว ภรรยาดุจเพื่อน ภรรยาดุจทาสี ภรรยานั้น เพราะเป็นผู้ตั้งอยู่ในศีล ยินดีและสำรวมมานาน เมื่อตายไป ย่อมไปสู่สุคติโลกสวรรค์
สุชาดา ภรรยา ๗ จำพวกนี้แล เธอเป็นภรรยาจำพวกไหน นางสุชาดากราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ขอพระผู้มีพระภาคโปรดทรงจำหม่อมฉันไว้ว่า เป็นภรรยาดุจทาสี” ภริยาสูตรที่ ๑๐ จบ
ประเด็นที่น่าตั้งข้อสังเกตมีดังนี้ครับ
1. นางไม่เชื่อฟังแม่ผัว ไม่เชื่อฟังพ่อผัว ไม่เชื่อฟังสามี แม้แต่พระผู้มีพระภาค นางก็ไม่สักการะ ไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่บูชา” แต่เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสเรียกมา นางก็ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร...เราจะอธิบายปรากฎการณ์นี้อย่างไรได้บ้าง 1. คำพูดนี้ขัดแย้งกันเอง 2.นางแสแสร้งทำความเคารพเพราะเกรงใจพระพุทธเจ้าในฐานะแขกผู้มาเยือน...หาก เป็นเช่นนี้ อย่างน้อยก็สะท้อนให้เห็นว่า พระพุทธเจ้าก็ไม่ได้ต่างจากคนทั่วไป ที่มีทั้งคนชอบและไม่ชอบ ซึ่งต่างกับการถูกนำเสนอให้ชาวพุทธเชื่อว่า ท่านศักดิ์สิทธิ์ ไปไหนมีแต่คนเข้ามาถวายความเคารพด้วยจิตศรัทธา
2. ความเชื่อเรื่องนรกสวรรค์...ปัญหาสำหรับคนที่ปฏิเสธ และยกนรกสวรรค์ให้มาอยู่ในใจซึ่งเป็นปัจจุบัน ........ จากพระดำรัสที่ว่า ภรรยาเช่นนี้ เป็นผู้ทุศีล หยาบคาย ไม่เอื้อเฟื้อ “เมื่อตายไป” ย่อมไปสู่นรก....หรือ....ย่อมไปสู่สุคติโลกสวรรค์ ตกลงนรก สวรรค์ ในภพหน้ามีป่าวคับ? อิอิ
3.ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ขอพระผู้มีพระภาคโปรดทรงจำหม่อมฉันไว้ว่า เป็นภรรยาดุจทาสี” คำถามคือ คนที่นิสัยไม่ดีเช่นนั้น เมื่อได้ฟังธรรมะแค่นี้ สามารถเปลี่ยนตัวเองเป็นคนละคนได้เลยหรือ...หรือจะเป็นการเสแสร้งอีกเช่น เคย? เนื่องจาก หากอยากเป็นคนดีจริง ก็สามารถเลือกภรรยาประเภทอื่นๆ ซึ่งดีกว่านี้ มีสิทธิ ศักดิ์ศรี มีความเป็นมนุษย์มากกว่านี้ได้ .... ในการศึกษาศาสนา จะมีคำถามตามมาตลอดว่า ผู้นั้นสามารถเปลี่ยนตนเองได้หรือไม่หลังจากฟังธรรมะไปแล้ว ส่วนใหญ่ชาวพุทธจะเชื่อว่าได้.....เนื่องจากพระพุทธเจ้าจะใช้พระญาณตรวจสอบ ก่อนที่จะเทศน์ให้ใครฟัง เพื่อจะได้เลือกสรรธรรมที่ตรงกับภาวะนั้น ซึ่งส่วนใหญ่จะได้ผล และชาวพุทธจะไม่ยอมเชื่อว่า พระพุทธเจ้าตรัสไปแล้ว ผู้ฟังคนนั้นไม่ได้นำไปใช้ เพราะเท่ากับบอกว่า การเทศน์ครั้งนั้นล้มเหลว.... แต่ฝรั่งหลายคนจะไม่ยอมเชื่อเรื่องนี้ เนื่องจาก พระสูตรเองก็จบไว้เท่านี้ “ขอพระผู้มีพระภาคโปรดทรงจำหม่อมฉันไว้ว่า เป็นภรรยาดุจทาสี” ซึ่งเป็นเพียงคำพูดเชิงถวายสัตย์ แต่ไม่ได้ให้ภาพต่อไปว่า ต่อมานางมีพฤติกรรมอย่างไร ฉะนั้น การเชื่อว่า นางกลับเป็นคนดีได้จริง จึงเป็นความคาดหวังของผู้อ่านเอง ซึ่งนอกเหนือการนำเสนอของพระสูตร
4. หากมองในทรรศนะของ “สตรีนิยม” อาจกล่าวได้ว่า พุทธศาสนากดสตรีให้ต่ำลง สอนให้ผู้หญิงเป็นทาสผู้ชาย ปลูกฝังอุดมคติของหญิงที่ดีที่ต้องรับใช้สามีเป็นต้น ประเด็นนี้แก้ตัวได้ว่า ไม่มีส่วนไหนที่พระพุทธเจ้าสอนให้ผู้หญิงต้องตกต่ำกว่าผู้ชาย การพูดถึงภรรยาทั้ง 7 ประเภทนั้น ไม่ได้ต้องการสอนให้คนต้องเป็นอย่างที่พระองค์ต้องการ แต่ได้ยกเอาประเภทของผู้หญิงที่มีอยู่จริงในสังคมมาอธิบาย ที่สำคัญการที่นางสุชาดาเลือกที่จะเป็น “ภรรยาดุงทาส” ก็เป็นเจตจำนงค์ของนางเอง ซึ่งหากนางเลือกประเภทอื่น เช่นภรรยาดุจพี่น้องสาว ดุจมารดา เป็นต้นก็ไม่มีใครว่าอะไร
ต้องเข้าใจว่า พุทธศาสนาไม่ได้เกิดมาภายใต้อุดมการสตรีนิยม เพื่อเรียกร้องสิทธิสตรี เพราะพื้นฐานศาสนาส่วนใหญ่ (ในแง่โลกิยะ) เพียงต้องการให้สังคมมีความสงบสุข ให้บริบททางสังคมเอื้อแก้การพัฒนาตัวเองในขั้นโลกุตตระต่อไปได้อีก ที่สำคัญ....การแก้ตัวว่า พระพุทธเจ้าไม่ได้กล่าวว่า ภรรยาดุจทาสดีที่สุด เพราะพระองค์ไม่ได้ตรัสรับรองอะไรเลย เมื่อนางเลือกแล้วก็แล้วไป หากเห็นดีเห็นงามด้วยก็ควรตรัสว่า “สาธุ ดีแล้วสุชาดา เธอช่างเป็นสาวกที่ดีของเราจริงๆ” ซึ่งหากตรัสเช่นนี้ ก็จะสื่อความว่า พุทธศาสนากดขี่ผู้หญิงให้ต่ำลงจริงๆ
5. พระสูตรนี้ สะท้อนให้เห็นถึงหลักการของพุทธศาสนาได้ชัดเจน คือ เพียงเสนอตัวเลือก พูดให้เห็นข้อดี ข้อเสีย ส่วนผู้ฟังจะเอาอย่างไร ก็ปล่อยให้เป็นเสรีภาพของเขาเอง .... เป็นลักษณะของศาสนาแบบ Doctrine ซึ่งตรงข้ามกับ Dogma ที่เน้นให้เชื่อและต้องเอาคำที่พูดไปปฏิบัติตาม หากฝ่าฝืนถือเป็นความผิดบาป การทำความเข้าใจประเด็นนี้ก็สำคัญมาก จะนำไปสู่ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับศีล 5 เป็นต้น ว่าไม่ได้เป็นบทบัญญัติที่สั่งบังคับให้ใครทำ แต่เป็นการเสนอข้อเด่น ข้อด้อย แล้วให้ผู้นั้นเลือกสมาทานเอาเอง (ใครไม่สมาทานก็เรื่องของเขา) “ข้าพเจ้าขอสมาทานเอาสิกขาบท..เพื่อฝึกฝนตนเอง...คือการงดเว้นจากการฆ่า สัตว์ฯลฯ” ไม่ได้แปลว่า “ศีลข้อที่ 1 ห้ามฆ่าสัตว์” (เพราะการสั่งให้ทำเป็นลักษณะแบบ Dogma) ซึ่งไม่ใช่รูปแบบของพุทธศาสนา
เรื่องนี้ยังตั้งคำถามถึงความเชื่อของสายพุทธวจนะได้อีกว่า...แท้จริงแล้ว พุทธศาสนาสอนให้เชื่อและต้องเอาไปปฏิบัติตามนั้น หรือ สอนให้รู้จักคิด แยกแยะ แล้วเลือกสิ่งที่เหมาะกับจริตตนไปปฏิบัติตามความเหมาะสม ?
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น