ภาษาลีศักดิ์สิทธิ์ที่สุด
ภาษาลีศักดิ์สิทธิ์ที่สุด.............สมัยเป็นเณรที่ต้องออกไปตอบปัญหา หรือ ท่องการแจกศัพท์ภาษาบาลีหน้าห้องเรียน อาจารย์หลายคนสอนให้พนมมือไปด้วย ท่องไปด้วย เพราะเหตุผลว่า บาลีเป็นภาษาที่ศักดิ์สิทธิ์???
น่าตั้งคำถามว่า หากภาษาบาลีมีความศักดิ์สิทธิ์ ทุกคำพูดที่พูดด้วยภาษานี้จะศักดิ์สิทธิ์ด้วยหรือไม่ เช่น มหาโยนี มหาองฺคชาตํ อิอิ (และควรพนมมือขณะพูดคำนี้ด้วยหรือไม่?) ที่จุดประเด็นนี้ขึ้นมา ไม่ใช่เพราะต้องการหมิ่นประมาทภาษาที่ใช้บันทึก
คำสอนของพุทธศาสนานะครับ เพียงแต่น่าตั้งคำถามว่า เป็นไปได้หรือไม่ว่า
คนที่สอบได้เป็นมหา มีความช่ำชองภาษาบาลีกันแล้ว
กลับไม่สามารถทิ้งความงมงายได้ หลายท่านยังเชื่อเรื่องอานุภาพ(ที่เกินจริง)ของบทสวดมนต์ เชื่อเรื่องอำนาจศักดิ์สิทธิ์ เทวดา ต้นไม้ไปส่งบุญให้ผู้ตาย...จะเป็นไปได้ไหมว่า เพราะท่านถูกอบรมผ่านกระบวนการศึกษาภาษา ที่สอนให้เชื่อเรื่องความศักดิ์สิทธิ์มาตลอด แม้การกล่าวศัพท์ ก็ต้องพนมมือให้ความเคารพ จะส่งผลต่อกระบวนการเรียนที่ทำให้เด็กยอมสิโรราบแบบไม่ตั้งคำถามต่อครูอาจารย์ด้วยหรือไม่????
ความจริงอรรถกถามีเรื่องน่าสนใจกว่านี้ โดยระบุผู้ที่พูดภาษาบาลีไว้ว่า พระพุทธเจ้า พรหม มนุษย์ต้นกัปป์ เด็กที่ไม่รู้ภาษาอะไรมาก่อน...จะพูดภาษาบาลี
เราลองมาตั้งคำถามเล่นๆว่า
1. คนที่จะเป็นพระพุทธเจ้าได้ หากเกิดในที่ที่ไม่ใช้ภาษาบาลี ต้องเข้าคอร์สติวภาษาก่อนหรือไม่ ? อิอิอิ (หรือท่านเป็นสัพพัญญูอยู่แล้ว รู้ทุกภาษา ... ท่านพูดอีสานได้ป่าว? อิอิ)
2. พระพรหม พูดภาษาบาลี สันนิษฐานต่อได้ว่า เทวดาพูดบาลีด้วยหรือไม่
หากใช่ สัตว์นรก เปรต อสุรกาย ก็น่าจะพูดบาลีด้วย
(กรณีที่เชื่อว่าสัตว์เหล่านี้ต้องพูดภาษาอะไรสักอย่างหนึ่ง) กรณีพระมาลัยที่ลงไปโปรดสัตว์ในนรก..ท่าน
ก็น่าจะใช้ภาษาบาลีนะ ถ้าเช่นนั้น ภาษาบาลีคงไม่ใช่ภาษาคนชั้นสูง
เป็นที่เคารพสักการะเท่านั้น หากแต่เป็นภาษาภพภูมิที่เรียกว่าเป็นเสนีดจัญไรด้วย? อิอิอิ
3. เด็กที่ไม่เคยฟังภาษาอะไรมาก่อนจะพูดบาลี อันนี้เหมือนจะมีเจตนาอ้างความเป็น
สากลของภาษาบาลี เป็นรากฐานของภาษาอื่นฯลฯ เรื่องนี้คงเถียงยาก
แต่หากไปดูการ์ตูนเรื่อง “ทาซาน“ ก็จะเห็นว่าเด็กพูดภาษาลิง ไม่ใช่บาลี
อิอิ (แต่นั่นก็เป็นเพียงละคร และ เด็กอาจถูกสอนภาษาลิงแทนบาลีเสียแล้ว....คิดอย่างนี้ยิ่งไปไกลกว่าละครเสียอีก อิอิ)
กระผมเห็นด้วยกับการสอนหรือรณรงค์ให้คนเรียนภาษาบาละครับ เพราะตัวเองก็สนใจเรื่องนี้มาตลอด (อ้างเพื่อความชอบธรรม?) เพียงไม่อยากให้ใช้นโยบายประชานิยมที่งมงายเกินจริง ปลูกฝังความเชื่อผิดให้แก่ผู้เรียน แท้จริงภาษาบาลีคุณประโยชน์มากเช่น ช่วยให้ผู้รู้ภาษากลับไปหาคัมภีร์ต้นฉบับเมื่อครั้นเจอคำกวมที่แปลเป็นไทยแล้ว เช่น “เมียเศรษฐีสามคน” วลีนี้อาจเข้าใจได้หลายความหมายเช่น
1. เศรษฐี 1คน เมีย 3 คน
2. เศรษฐี 3 คน เมีย1คน
3. เศรษฐี 3 คน เมีย 3 คน หรือกระทั่ง
4. เมีย 1 คน ของเศรษฐี 3 คน
ความสับสนเหล่านี้จะหมดไปหากกลับไปดูภาษาบาลี เพราะบาลีมีหลักเรื่องเพศ มาประกอบศัพท์ นั่นคือ เศรษฐีมีรูปศัพท์เป็นเพศชาย เมีย/ภริยา มีศัพท์เป็นเพศหญิง ส่วน 3 (คน) นั้นเป็นตัวขยาย รูปศัพท์ขึ้นอยู่ว่าจะขยายตัวใดก็คล้อยรูปไปตามศัพท์นั้น ฉะนั้นในภาษาบาลี คำว่า 3 จึงดูง่ายว่าอยู่ในรูปเพศใด ซึ่งก็หมายถึง จะต้องแปลให้ขยายศัพท์นั้นได้แบบเดียวเท่านั้น นี่เป็นความชัดเจนของภาษาบาลี
นี่เป็นประโยชน์หนึ่งที่น่าจะใช้ได้กับการรณรงค์ให้คนศึกษาบาลีครับ โดยไม่ต้องอ้างอำนาจศักดิ์สิทธิ์ ความเป็นศาสนานิยม ชาตินิยม ที่เน้นให้เห็นว่าคนรู้ภาษาที่ประเสริฐเช่นนี้จะมีบุญและประเสริฐกว่าคนอื่นๆ อิอิ ที่สำคัญเมื่อมีความรู้ด้านภาษาแบบไม่งมงายแล้ว ก็จะสามารถทำงานให้ศาสนา และช่วยแนะนำให้ความรู้คนในทางที่ถูกต้องและมีเหตุผลได้ครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น